กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเข้าใจสุขภาพ ต้านโรคภัย ส่งเสริมตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน

นางนิเด๊าะ อิแตแล
นายอับดุลฮาเร็ม ซีระแม
นางมาซนะ แวจิ
นางฆารียะ ยอฆอร์
นางอาซ๊ะ อาลี

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจ และใช้ความพยายามในการลดความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยมุ่งไปที่การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่าการควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวสามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคได้ องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนวทางป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผล โดยการแก้ไขปัญหาด้านปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายปัจจัยเสี่ยงไปพร้อมๆกัน และเน้นหนักในการป้องกันระดับปฐมภูมิ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงร่วมในชุมชน เพิ่มความสามารถการตัดสินใจและเลือกปฏิบัติลดเสี่ยง สนับสนุนให้มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดโอกาสเสี่ยงตลอดจนเข้าถึงการเสริมเทคนิควิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม
จากผลงาน การตรวจคัดกรองสุขภาพของตำบลบาโงยซิแน ระหว่าง 01/10/2560ถึง 30/09/2561 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานร้อยละ 91.45 พบกลุ่มปกติที่มีภาวะน้ำตาล น้อยกว่า 100 mg/dl จำนวน 1,446 คน คิดเป็นร้อยละ 73.44 เสี่ยงสูงต่อเบาหวานค่าระดับน้ำตาล 100-125mg/dl จำนวน 426 คน คิดเป็นร้อยละ 21.64 แยกเป็นชาย 181 คน หญิง 245 คน สงสัยเป็นโรคค่าระดับน้ำตาล มากกว่าเท่ากับ 126 mg./dl จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 4.93 แยกเป็นชาย 37 คน หญิง 60 คน Pre DM จำนวน 15 ราย แยกเป็น ชาย 4 คน หญิง 11 คน คิดเป็นร้อยละ 0.76 ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มีค่า HbA1c น้อยกว่า 7% จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 28.42 และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,360 คิดเป็นร้อยละ 93.31 กลุ่มปกติ (SBPน้อยกว่า120 DBPน้อยกว่า80) จำนวน 936 คนคิดเป็นร้อยละ 55.88 เสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง (SBP 120-139/DBP 80-89) จำนวน 683 คน คิดเป็นร้อยละ 40.78 สงสัยเป็นโรค (SBPมากกว่าเท่ากับ140/DBPมากกว่าเท่ากับ90) จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 3.58 แยกเป็นชาย 25 คน หญิง 35 คน Pre HT จำนวน 51 คนคิดเป็นร้อยละ 7.87 แยกเป็นชาย 28 คน หญิง 23 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ น้อยกว่า140/90 มม.ปรอท จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 42.70 และข้อมูลประชาคมพบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง ตา ไต เพิ่มขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งเรื่องการรับประทานอาหารหรืออาหารที่มีโภชนาการที่ไม่เหมาะสม และการออกกำลังกาย เพราะบริบทวัฒนธรรมของชุมชน เช่น ซุปเครื่องใน แกงกะทิอาหารทอดอาหารที่มีรสเค็มเช่นน้ำบูดู,ปลาเค็มเป็นต้น ( ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดยะลา ) จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสุขภาพโดยเฉพาะการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน รวมถึงจัดหาอุปกรณ์ ตรวจสอบเครื่องมือให้มีมาตรฐานในการประเมิณภาวะสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทราบความเสี่ยงของตัวเอง และลดการปฏิบัติที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคและภาวะแทรกซ้อน ของโรคเหล่านี้
ดังนั้น การได้รู้ข้อมูลสุขภาพของตนเอง จึงสามารถที่จะทำให้ประชาชนตระหนัก ในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจะให้ได้ผล และเกิดความยั่งยืนได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยพลังของประชาชน การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลางสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพในชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเข้าใจสุขภาพ ต้านโรคภัย ส่งเสริมตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ปี 2562

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน มากกว่าร้อยละ 80
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. ร้อยละ 70 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
70.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการขึ้นทะเบียนการรักษา และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมทั้งได้รับการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุข
  1. ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการขึ้นทะเบียนการรักษา ร้อยละ 90
  2. ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พร้อมทั้งได้รับการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 90
90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,071
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 574
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล (ชนิดขาตั้ง)

ชื่อกิจกรรม
1. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล (ชนิดขาตั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจง ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อความรู้ไวนิล (ชนิดขาตั้ง)
- ค่าจัดทำสื่อความรู้ไวนิลพร้อมขาตั้ง 2 ชุดๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพในการป้องกันโรคเรื้อรังตามสื่อประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดบริการทีมสุขภาพออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
2. จัดบริการทีมสุขภาพออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดบริการทีมสุขภาพออกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
- ค่าชุดแถบตรวจเบาหวาน จำนวน 17 กล่องๆละ 850 บาท เป็นเงิน 14,450 บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องๆ ละ 1,800 เป็นเงิน 9,000 บาท (ซื้อใหม่ครั้งแรก ยังไม่เคยซื้อด้วยเงินกองทุนมาก่อน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-การดำเนินการคัดกรองรวดเร็ว และรับการส่งต่อการรักษาต่อเนื่องทันเวลาให้กับสถานบริการใกล้บ้าน ร้อยละ 80
-อุปกรณ์การดำเนินการได้รับการตรวจสอบความพร้อมในการงาน และหากชำรุด สามารถจัดหาให้พร้อมบริการคัดกรอง
-มีอุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิตสูงพร้อมใช้ประเมินสภาวะสุขภาพของคนในชุมชนประจำชมรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23450.00

กิจกรรมที่ 3 3. อบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
3. อบรมเชิงปฏิบัติการ ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรแก่แกนนำ อสม. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท x 5ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 2,500 บาท(เช่น ดินสอ, ปากกา, แฟ้ม, กระดาษA4, สมุด เป็นต้น)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-การดำเนินการต้องได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ และการดูแลที่เหมาะสมร้อยละ 80
-พัฒนาศักษาภาพแกนนำ อสม.และผู้สนใจ ในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น ในการให้คำปรึกษาและติดตามกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพเฝ้าระวังโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ หากพบกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อคงสภาวะของสุขภาพที่ดี และในกลุ่มที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้คงสภาวะของสุขภาพที่ดีจะได้รับการส่งต่อรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลชุมชน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
2. ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานสามารถ ทราบผลการคัดกรองภาวะสุขภาพ และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
3. ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถ ทราบผลการคัดกรองภาวะสุขภาพ และควบคุมความดันโลหิตได้ดี
4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง


>