กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ในเด็กวัยเรียน บางปลาหมอ ปี 62

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ

1…นายเจะดาโอะ อุมาร์……………………………………………………………
2…นายฮาร์ดี มามะ…………………………………………………………………
3…นายรุดฟาน แวยุนุ………………………………………………………………
4…นายอันนุวา หะยีสุหลง………………………………………………………..
5…นายมะสากี หะยีสุหลง

หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่เปลี่ยนไปจากเดิม จากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง สังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสังคมที่ไม่รู้จักพอเพียง เพื่อปัจจัยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน ผลที่ตามมาทุกคนต้องทำงานอย่างหนักไม่มีเวลา ลืมในเรื่องของการดูแลสุขภาพ มองข้ามในเรื่องของภัยมืดที่คุกคามสุขภาพที่เกิดขึ้น เช่น ครอบครัวขาดความอบอุ่นเนื่องจากไม่มีเวลาอยู่ด้วยกันส่งผลต่อการระบาดยาเสพติดในพื้นที่ อัตราการเกิดโรคเรื้อรังมีสูงเนื่องจากพฤติกรรมของบุคคลที่ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหารสำเร็จรูป เด็กมีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษเนื่องปริมาณถุงพลาสติก หรือขยะที่ย่อยสลายยากเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกปี ฯลฯ
ภัยมืดดังกล่าวข้างต้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบร่วม ต้องช่วยกันป้องกันและแก้ไข ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา และต้องบูรณาการร่วมกันในพื้นที่ ทางชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ เป็นชมรมที่มีอยู่ในพื้นที่อยากเป็นส่วนหนึ่งสังคมในการป้องกันและแก้ไขภัยมืดที่คุกคามสุขภาพ เห็นว่าการส่งเสริมและปลูกฝังในเรื่องของกิจกรรมการออกกำลังกาย ขยับกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เด็กๆเป็นสิ่งที่ดี สามารถเชื่อมโยงให้ผู้ปกครองหันมาออกกำลังกาย และมองเห็นปัญหาที่เกิดในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ปัจจุบันหลักๆดังนี้
1. เด็กมีภาวะเสี่ยงอ้วนสูง เนื่องจากกินขนมประเภทแป้ง น้ำตาล เยอะ และขาดการออกกำลังกาย
2. เด็กขาดทักษะชีวิตเนื่องจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่พ่อแม่หาให้
3. เด็กมีความก้าวร้าว โลกส่วนตัวสูง เนื่องจากโทรศัพท์
จากเหตุผลดังกล่าวทางชมรมคนรักกีฬา หมู่ 8 บางปลาหมอ จึงมองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ให้เด็กๆได้มารวมกลุ่มน่าจะเป็นสิ่งที่ดี และมองเห็นว่าทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เป็นกองทุนที่ใกล้ชิดกับประชาชนระดับรากหญ้า มีงบประมาณที่จะสนับสนุนแก้ไขปัญหาสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในเด็กวัยเรียน บางปลาหมอ ปี 2562 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวทางกาย

ร้อยละ 60 ของประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย

50.00 60.00
2 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้มีความรู้ และมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้และมีภูมิคุ้มกันต่อภัยมืดที่คุกคามสุขภาพในปัจจุบัน

60.00 80.00
3 เพื่อปลูกฝังกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย ให้แก่เยาวชนในพื้นที่ให้มีอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      25 บาท x 40 คน
      เป็นเงิน  1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายเข้าใจแนวของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเรื่องภัยมืดที่คุกคามสุขภาพเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเรื่องภัยมืดที่คุกคามสุขภาพเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน
      60 บาท x 100 คน
      เป็นเงิน 6,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      35 บาท x 2 มื้อ x 100 คน
      เป็นเงิน  7,000 บาท
  • ค่าวิทยากร
      600 บาท x 4 ชม.
      เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เป้าหมายมีความรู้ ความตระหนักในภัยมืดเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15400.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็นในกลุ่มเด็กและเยาวชน(บูรณาการ การเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล แชร์บอล ตะกร้อ)

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็นในกลุ่มเด็กและเยาวชน(บูรณาการ การเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล แชร์บอล ตะกร้อ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรในกิจกรรม
      การเคลื่อนไหวทางกาย   150 x 24 วัน
      เป็นเงิน  3,600 บาท
  • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 5,000 บาท   (ลูกฟุตบอล ลูกวอลเล่ย์ ลูกตะกร้อ
      ลูกแชร์บอล)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย
2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3. เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนในอนาคต
4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ


>