กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมบริโภคของประชาชนจากการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ฉะนั้น ประชาชนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากการสัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างเตรียม - ปรุง - ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้
การพัฒนางานด้านสาธารณสุข ของเทศบาลนครยะลา เน้นการดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นหลัก ให้ความสำคัญของการเป็นเมืองอาหารสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหาร ด้วยการพัฒนาร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร จากข้อมูลการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการด้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ประจำปีงบประมาณ 2561 ของเทศบาลนครยะลา พบว่า มีร้านจำหน่ายอาหารทั้งหมด 855 ร้าน แยกเป็น ร้านอาหารจำนวน 459 ร้าน แผงลอยจำหน่ายอาหารในจุดผ่อนผัน จำนวน 355 ร้าน และแผงจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จในตลาดสด จำนวน 41 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร คิดเป็นร้อยละ 80 (367 ร้าน), 65 (229 ร้าน) และ 100 (41 ร้าน) ตามลำดับ ผลการตรวจเฝ้าระวังสุขาภิบาลอาหารด้านเคมี (สารเคมีปนเปื้อน 4 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน ฟอกขาว และสารกันรา) จำนวน 448 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างที่นำมาทดสอบปราศจากการปนเปื้อนทั้งหมด (คิดเป็น 100%)สำหรับด้านชีวภาพ (เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ/อาหาร/มือ) จากการสุ่มจำนวน 1,329 ตัวอย่าง พบว่า ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 67 (890 ตัวอย่าง) และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 33 (439 ตัวอย่าง) นอกจากนี้ ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีสถานประกอบการที่ผ่านการอบรมเพียง จำนวน 250 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.24 ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้สัมผัสอาหารในกิจการด้านอาหารดังกล่าว เป็นบุคคลสำคัญในการจัดหา ประกอบ ปรุงอาหาร และให้บริการแก่ผู้บริโภค จำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารทุก ๆ 3 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภคได้ จึงต้องมีการอบรมเพิ่มความรู้อีกจำนวนมาก เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารจากร้านที่ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร และมีการพัฒนาร้านให้ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
ดังนั้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ฝ่ายส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตะหนักถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการอบรมการสุขาภิบาลอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ปฏิบัติตามเทศบัญญัติเทศบาลนครยะลา และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 ของร้านที่เข้ารับการอบรม ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน
0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
  1. ผลคะแนนรวมการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 80
  2. ตัวอย่างอาหารที่สุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนด้านเคมี (สารเคมีปนเปื้อน 4 ชนิด ได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน ฟอกขาว และสารกันรา)
  3. ตัวอย่างที่สุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนด้านชีวภาพ (เชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะ/อาหาร/มือ)
  4. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการ
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการฯ เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 23 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการฯ เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 23 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 23 คน คนละ 1 มื้อๆ ละ 25.- บาท
                                  เป็นเงิน     575.-บาท

รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน  575.-บาท (เงินห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
575.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร เป้าหมาย สำหรับผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร 2.1 จุดผ่อนผัน 5 จุด จำนวน 100 คน 1. จุดผ่อนผันหลังโรงเรียนนิบงฯ 2. จุดผ่อนผันสะพานดำ 3. จุดผ่อนผันสน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร เป้าหมาย สำหรับผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร 2.1 จุดผ่อนผัน 5 จุด จำนวน 100 คน 1. จุดผ่อนผันหลังโรงเรียนนิบงฯ 2. จุดผ่อนผันสะพานดำ 3. จุดผ่อนผันสน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนคนละ 1 มื้อๆ ละ 30.- บาท
                                เป็นเงิน    3,000.-บาท
  2. ค่าสัมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                เป็นเงิน    1,800.-บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เครื่องเขียน
                                เป็นเงิน    2,400.-บาท
  4. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร และสิ่งพิมพ์
                                เป็นเงิน    5,000.-บาท

   รวมกิจกรรมที่ 2.1 เป็นเงิน 12,200.-บาท      (เงินหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร 2.2 ร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหารในตลาด จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 โครงการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร 2.2 ร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหารในตลาด จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนคนละ 1 มื้อๆ ละ 30.- บาท
                                เป็นเงิน  3,000.-บาท2. ค่าสัมมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                เป็นเงิน  1,800.-บาท
  2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เครื่องเขียน
                                เป็นเงิน  2,400.-บาท
  3. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสาร และสิ่งพิมพ์
                                เป็นเงิน  5,000.-บาท   รวมกิจกรรมที่ 2.2 เป็นเงิน 12,200.-บาท    (เงินหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยบาทถ้วน)

รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 24,400.-บาท (เงินสองหมื่นสี่พันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 3 การจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร เป้าหมาย ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ณ จุดผ่อนผัน 5 จุด จำนวน 100 ร้าน และร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหารในตลาด จำนวน 100 ร้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร เป้าหมาย ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ณ จุดผ่อนผัน 5 จุด จำนวน 100 ร้าน และร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหารในตลาด จำนวน 100 ร้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายไวนิล จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 1,200.- บาท
                                เป็นเงิน    6,000.-บาท

รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 6,000.-บาท (เงินหกพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 4 การตรวจประเมินร้าน/แผงจำหน่ายอาหารในจุดผ่อนผัน ภายใต้สโลแกน “สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เป้าหมาย ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ณ จุดผ่อนผัน 5 จุด จำนวน 100 ร้าน และร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหารในตลาด จำนวน 100 ร้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การตรวจประเมินร้าน/แผงจำหน่ายอาหารในจุดผ่อนผัน ภายใต้สโลแกน “สะอาด ปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เป้าหมาย ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ณ จุดผ่อนผัน 5 จุด จำนวน 100 ร้าน และร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหารในตลาด จำนวน 100 ร้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,975.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง - ประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้ประกอบการมีการปรับปรุงและยกระดับสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร
3. ประชาชนทั่วไป (ผู้บริโภค) ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปลอดโรค และมีสุขภาพที่ดี (มีอายุยืน)


>