กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัย สุขภาพดี ชุมชนมีส่วนร่วม ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

๑. นายรติ นิรมาณกุล ประธานชมรม
๒. นายเหม มั่นศรัทธา รองประธานชมรม
๓. นางอะไอเซาะ สิดิ เลขานุการ
๔. นางฮาลีเมาะ มั่นศรัทธา เหรัญญิก
๕. นายธีรศักดิ์ เซะนาราเซะ ผู้ช่วยเหรัญรัญญิก

อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในทศวรรษนี้ การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆทั่วโลก พ.ศ.๒๕๕๙ ในประเทศไทยมีประชากร ผู้สูงอายุที่อายุ ๖๐ ปี ขึ้นไปประมาณ ๑๑ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๖.๕ ในขณะที่ประชากรรวมของประเทศไทยเพิ่มด้วยอัตราที่ช้าลงอย่างมาก ประชากรสูงอายุกลับเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สูงมาก ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีก ๕ ปี ข้างหน้า การมีสัดส่วนผู้สูงอายุขึ้นย่อมหมายถึงภาระของรัฐ ชุมชน และครอบครัว ในการดูแลสุภาพ ค่าใช้จ่ายในการยังชีพ และการดูแลเกี่ยวกับการอยู่อาศัยที่เหมาะสม ที่จะต้องสูงขึ้นตามไปด้วย
การมองในเรื่องผู้อายุกันใหม่ จากภาพของคนสูงอายุทะอะไรไม่ได้ เจ็บออดๆ แอดๆ บางคนทำให้ครอบครัวต้องรับภาระการดูแลเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้สูงอายุเองไม่สามารถที่จะดูแลตนเองโดยลำพังได้ ชุมชนซึ่งมีชมรมผู้สูงอายุ และชมรม อสม. ที่สามารถเกื้อกูล กำลังการดูแลอึกทางหนึ่ง ที่นอกเหนือจากคนในครอบครัว หน่วยงานภาครัฐ เช่น อบต.มูโนะ รพ.สต.มูโนะ จะเห็นว่าการที่จะให้ผู้สูงอายุไปสู่การเป็นผู้ที่มีอายุยืนยาวและมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่แข็งแรง รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะช่วงอายุจาก ๖๐ ปีถึง ๘๐ ปี เป็นเวลาอีกไม่น้อย ที่เป็นช่วงเวลาที่สามารถดำรงรักษาสุขภาพ ทำการงานที่เป็นประโยชน์และมีความสุข ดังนั้น การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จะเป็นรูปธรรมได้นั้น ทุกคนในชุมชนจะต้องได้รับการปลูกฝังให้มีพื้นฐานทางด้านจิตสำนึก ด้านความคิด ที่จะต้องให้ความสนใจ ใส่ใจดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุให้สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีอายุยืนยาว ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ จึงมีความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตลอดจนโรคประจำตัวเรื้อรัง ที่เกิดในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มโรคเหล่านี้ เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด เป็นต้น จึงได้จัดทำโครงการสูงวัย อนามัยดี ชุมชนมีส่วนร่วม ประจำปี ๒๕๖๒ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลตนเองของผู้สูงอายุ

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

0.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมอบรมมีพัฒนาการสามารถช่วยเหลือตนเองเพื่อสุขภาพ กาย ใจ ที่ดี

0.00 0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจและมีความสุขในการทำกิจกรรม

0.00 0.00
4 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สููงอายุในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนเอง

ผู้เข้าอบรมมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

0.00 0.00
5 เพื่อเสริมสร้างให้พี่น้องประชาชนในชุมชน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญและให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในแต่ละครอบครัว

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าอบรมเกิดความรัก ความผูกพันและความอบอุ่นในครอบครัว และชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้และตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้และตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ประชุมเพื่อวางแผน ๒.เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติ ๓.ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล มาร่วมกิจกรรม ๔.ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม ๕.ประสาน อสม. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในการร่วม ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ -ค่าตอบแทนวิทยากร ๓ คน จำนวน ๖ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาทจำนวน ๑ วัน เป็นเงิน ๓๖๐๐ บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑๐๐ คนๆละ ๕๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน ๕๐๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๐๐ คน ๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ เป็นเงิน ๕๐๐๐ บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรมแฟ้ม สมุด ปากกา เป็นต้น จำนวน ๑๐๐ คนๆละ ๔๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐๐ บาท -ค่าสื่อป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๑.๕ ๔ เมตร จำนวน ๑ ผืนๆละ ๑๕๐๐ บาท -ค่าป้ายจัดนิทรรศการ ป้าย X-Stand ขนาด ๘๐๑๘๐ ซม. (๖๐๐ บาท*๘ อัน) เป็นเงิน ๔๘๐๐ บาท -ค่าจ้างเหมาจัดสถานที่ จัดอบรม เป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27400.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพ ซักประวติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพ ซักประวติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๖.จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพ ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต/ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด -ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก และประเมินค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย แสดงความสัมพันธ์ของส่วนสูงและน้ำหนัก หรือมวลไขมันร่างกาย (BMI) จำนวน ๑ เครื่องๆละ ๕๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๕๐๐๐ บาท -ค่าเครื่องวัดความดัน ๑ เครื่องๆละ ๒๕๐๐ เป็นเงิน ๒๕๐๐ บาท -ค่าแผ่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน ๔ กล่องๆละ ๗๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๘๐๐ บาท -ค่าอาหารกลางวันอสม. จำนวน ๒๕ คนๆละ ๕๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ เป็นเงิน ๑๒๕๐ บาท -ค่าอาหารว่าง อสม. จำนวน ๒๕ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อเป็นเงิน ๑๒๕๐ บาท ๗.จัดนิทรรศการเกี่ยวกับผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ๘.สรุปผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจวิธีการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
๒. ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจ ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น
๓. ผู้สูงอายุได้พบปะและร่วมกันทำกิจกรรม เกิดความรัก ความผูกพันและความอบอุ่นในครอบครัว


>