กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินเบื้องต้นสำหรับประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ผู้ปฏิบัติการทุกระดับ เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการจัดการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินจนพ้นภาวะฉุกเฉิน ทั้งในภาวะปกติและภัยพิบัติ
การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาลเป็นระบบหนึ่ง ที่มีความสำคัญเพราะช่วงก่อนนำส่งโรงพยาบาลเป็นชั่วโมงทอง (Golden Hour) ของการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะทำให้ผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินรอดชีวิตได้มากที่สุดกว่าการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งสาระสำคัญตามแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ที่สำคัญคือ การมีความรู้ความสามารถในเรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การประเมินสถานการณ์และสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน การดูแลช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างนำส่งการช่วยฟื้นคืนชีพ การช่วยคลอดฉุกเฉิน การยกและการเคลื่อนย้าย และการจัดการทางแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย อีกทั้งในปัจจุบัน สภาพเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่า บทบาทของประชาชนร่วมกับบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินและการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในเหตุการณ์เกิดสาธารณภัยหมู่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อม และสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและทันท่วงที
จากผลการดำเนินงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 พบว่า จำนวนอุบัติเหตุยานยนต์ 1, 689 ราย หายใจลำบาก/ติดขัด 1,151 ราย พลัดตกหกล้ม/อุบัติเหตุ/เจ็บปวด 590 ราย ไม่รู้สติ/ไม่ตอบสนอง/หมดสติชั่ววูบ 354 ราย เจ็บแน่นทรวงอก/หัวใจ/มีปัญหาทางด้านหัวใจ 241 ราย หัวใจหยุดเต้น 32 ราย (รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน, 2561)
จากความสำคัญดังกล่าว การฝึกอบรมประชาชนในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้มีความรู้ และทราบถึงแนวทางการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง มีความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมทั้งการฝึกปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติ จนเข้าใจและจำได้ จะนำไปสู่การช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินเบื้องต้นสำหรับประชาชนในพื้นที่ชุมชนหัวสะพานสะเตง เขตเทศบาลนครยะลา ขึ้นในครั้งนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิดเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
  1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินเพิ่มขึ้น
0.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชน
  1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉิน
0.00
3 3. เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการในระดับมาก (มากกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมาย ตัวแทนชุมชน ทีมผู้จัดโครงการ และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมาย ตัวแทนชุมชน ทีมผู้จัดโครงการ และ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25.-บาท จำนวน 1 มื้อ
                                         เป็นเงิน     750.-บาท

รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 750.-บาท (เงินเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครยะลา เป้าหมาย ประชาชนชุมชนหัวสะพานสะเตง เขตเทศบาลนครยะลา และทีมผู้จัดโครงการ จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครยะลา เป้าหมาย ประชาชนชุมชนหัวสะพานสะเตง เขตเทศบาลนครยะลา และทีมผู้จัดโครงการ จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คนๆ ละ 30.-บาท จำนวน 2 มื้อ
                                      เป็นเงิน  6,000.-บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 80.-บาท จำนวน 1 มื้อ
                                      เป็นเงิน  8,000.-บาท 3. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ และเครื่องเขียน    3.1 ปากกา จำนวน 100 ด้ามๆ ละ 5.-บาท
                                      เป็นเงิน    500.-บาท

   3.2 แฟ้มกระดุม จำนวน 100 แฟ้มๆ ละ 15.-บาท                                      เป็นเงิน   1,500.-บาท    3.3 กระดาษ A4 จำนวน 1 รีมๆ ละ 135.-บาท
                                     เป็นเงิน     135.-บาท    3.4 สมุดปกอ่อน จำนวน 100 เล่มๆ ละ 15.-บาท
                                     เป็นเงิน   1,500.-บาท    3.5 อุปกรณ์สาธิต
                                     เป็นเงิน  1,365.- บาท                                  รวมเป็นเงิน 5,000.-บาท

4. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                      เป็นเงิน 1,800.-บาท 5. ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                      เป็นเงิน 9,000.-บาท
รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 29,800.-บาท (เงินสองหมื่นเก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การจัดนิทรรศการ และประชาสัมพันธ์การพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนภายในเขตชุมชนเมืองเทศบาลนครยะลา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การจัดนิทรรศการ และประชาสัมพันธ์การพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนภายในเขตชุมชนเมืองเทศบาลนครยะลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลพร้อมขาตั้ง (แบบ X – Stand) จำนวน  5 ชุด ๆ ละ 1,200.-บาท
                                                        เป็นเงิน  6,000 บาท
  2. ค่าโฟมบอร์ด (ป้ายถือพร้อมเสา) จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 350.-บาท                      เป็นเงิน  3,500 บาท
  3. ค่าป้ายสแตนดี้ (Standy board) จำนวน 2 ชุด   ชุดละ 1,500.-บาท                เป็นเงิน  3,000 บาท

รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 12,500.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉิน/บาดเจ็บเพิ่มเติม/เพิ่มโอกาสรอดชีวิต ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่
2. การพัฒนา และสร้างองค์ความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบาย และเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพด้านฉุกเฉินสำหรับประชาชนเพื่อการปรับเปลี่ยน และพัฒนาการดูแลตนเองและบุคคลใกล้เคียงเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
3. สร้างเสริมการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ส่งผลให้เกิดเจตคติที่ดีในการดูแลผู้รับบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้รับบริการในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ


>