กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาเยาะมาตี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาเยาะมาตี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาเยาะมาตี

ตำบลกาเยาะมาตี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง (Shives, L. R., ๒๐๑๒) เช่นเดียวกับ วาทินี สุขมาก (๒๕๕๗) กล่าวถึงลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดี ว่าเป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีทั้งในสถานการณ์ที่ปกติและไม่ปกติและสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ผิดปกติ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด (จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวัลลภา คชภักดี, ๒๕๕๑) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตของบุคคลจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบ แก่งแย่งแข่งขัน ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ๕ อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับ (รายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, ค้นเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙) ซึ่งการเจ็บป่วยทางจิตเวชถือว่าเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่ง บุคคลที่ป่วยทางจิต จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่องบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาและการดูแลที่ต่อเนื่อง ทั้งนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๙ ได้เน้นให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ อย่างได้มาตรฐาน เสมอภาคและเท่าเทียมกัน การป้องกันหรือลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ชุมชนเทศบาลตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นชุมชนที่ประชากรนับถือศาสนา ร้อยละ ๑๐๐ มีทั้งหมด ๖ หมู่บ้าน จากการการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตเวชในชุมชน พบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด จำนวน ๓๔ ราย เป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท ผู้ป่วยโรคจิตจากสุราและสารเสพติด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ๓๗ ราย จากสถานการณ์และความสำคัญดังกล่าว ทางรพ สต กาเยาะมาตี มีพันธกิจในการดูแล ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นจึงได้พิจารณาจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรในชุมชนตำบลกาเยาะมาตี วัยทำงานและผู้สูงอาเยาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นชุมชนในเขตพื้นที่บริการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในการส่งเสริมสุขภาพจิต จึงจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยชุมชนมีส่วนร่วม ผู้รับผิดชอบโครงการคาดหวังว่า จะสนับสนุนให้กลุ่มเป้หมายนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนจากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และที่สำคัญเป็นการส่งเสริมป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้เป็นอย่างดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้บริการด้านความรู้ในการดูแล ส่งเสริม และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตแก่กลุ่มวัยทำงานในตำบลกาเยาะมาตี 2.เพื่อทำการคัดกรองโรคซึมเศร้าในกลุ่มเป้าหมาย และทำการส่งต่อ เพื่อรักการรักษาที่ถูกต้อง 3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเรื่องการเผชิญความเครียด

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเรื่องการเผชิญความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 20 คนX 25 บาท X 2 มื้อ X 6 หมู่บ้าน เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน 20 คนX 50 บาท X 1 มื้อ X 6 หมู่บ้าน เป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าป้ายไวนิล โครงการ จำนวน 1 ชิ้น เป็นเงิน 750 บาท

  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน 2,300 บาท

งบประมาณ 16,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมแกนนำแต่ละหมู่ ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้าและวิธีการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมแกนนำแต่ละหมู่ ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้าและวิธีการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการคัดกรองโรคซึมเศร้าและวิธีการค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า

  • ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 12 คนX 25 บาท X 2 มื้อ X 6 หมู่บ้าน เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน 12 คนX 50 บาท X 1 มื้อ X 6 หมู่บ้าน เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน 750 บาท


    งบประมาณ 7,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถั๋วเฉลี่ยงบประมาณตามกิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าในเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 100 3.แกนนำมีความรู้ในการค้นหาผู้ป่วยซึมเศร้ารายใหม่ในชุมชน


>