กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาเยาะมาตี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองพิชิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิดสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาเยาะมาตี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาเยาะมาตี

ตำบลกาเยาะมาตี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมายคือ เพิ่มขึ้นจาก๑๓๕ ล้านคนในปีค.ศ.๑๙๙๕ เป็น ๑๕๑ล้านคนในปีค.ศ. ๒๐๐ และคาดว่าจะเป็น ๒๒๑ ล้านคนในปีค.ศ. ๒๐๑๐ และ๓๐๐ ล้านคนในปีค.ศ. ๒๐๒๕ ตามลำดับ (King และคณะ) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรทุกอายุทั่วโลก พบว่าความชุก ในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ เท่ากับ ๒.๕% และจะเป็น ๔.๔% ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ (Wild และคณะ) ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยค.ศ. ๑๙๙๖-๑๖๖๗ พบว่าอัตราความชุก เท่ากับ ๔.๔ % การวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลจากทุกภาคของประเทศ เมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๐ พบว่าอัตราความชุก ของโรคเบาหวานในประชากรทีมีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปีขึ้นไป เท่ากับ ๙.๖% หรือคิดเป็นจำนวน ๒.๔ ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงครึ่งเดียว (๔.๘%) อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน มาก่อน อัตราความชุกของโรคเบาหวานในเมืองสูงกว่าชนบท(National Health Interview and Examination Survey)สถานการณ์ความชุกของโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาเยาะมาตี ปี ๒๕๖๒ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความรับผิดชอบ จำนวน ๒,๐๖๐ คน ซึ่ง การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลาย ๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก
การป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาเยาะมาตีได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่ รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของการเจ็บป่วย อันจะเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดนโยบายในการควบคุม ป้องกัน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้เกิดทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • ให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
90.00
2 เพื่อวางแผนดำเนินการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
  • เกิดแผนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1 แผน
  • เกิดกลุ่มเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หมู่ละ 1 กลุ่ม
0.00

๑. เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 450
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,450
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร ๓๕ ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร ๓๕ ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
5.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ 6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน 7.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 8.ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ 9.ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ติดตามผลการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ภายหลังคัดกรองครั้งแรก 3 เดือน 10.ประเมินผล สรุป หลังเข้าร่วมโครงการ 6 เดือน

  • ค่าวัสดุในการตรวจคัดกรองหาระดับน้ำตาลในเลือด (1,500 ชุดๆละ X ละ 753 บาทเป็นเงิน22,470 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22470.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,470.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถั๋วเฉลี่ยงบประมาณตามกิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชากรกลุ่มเป้าหมายลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค METABOLIC ตามมาฐานที่กำหนดไว้


>