กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู

1 นส.ธนวรรณ รอดขำ
2 นางสุภาพรรณ ปาละสัน
3 นส.วิญญูหยีละงู
4 นส.หทัยชนก ถิ่นแก้ว
5 นส.นรีรัตน์หมันเส็น

พื้นที่เขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด โดยสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ จากการสำรวจข้อมูลความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ปี พ.ศ. 2559 ในเด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 319 คน (กรมสุขภาพจิต) พบว่าเด็กจังหวัดสตูลมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 96.66 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ เฉลี่ย 45.90 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 70) และพบว่าผลการประเมินปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ (เด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 264 คน ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน) อยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 8.5 และอยู่ในระดับมีปัญหา ร้อยละ 8.5 นอกจากนี้ยังว่าเด็กนักเรียน ป.1 สงสัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) เรียนรู้ช้า และสมาธิสั้น ร้อยละ 2.8, 15.4, 9.1 และ 9.4 ตามลำดับ

จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู พบว่าในปี 2561 มีจำนวนเด็กชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเขตตำบลกำแพง ที่เข้ารับการตรวจวัดระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) จำนวน 25 ราย มีระดับความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 71.79 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) นกจากนี้ยังพบว่าจำนวนเด็ก ที่อายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิสซึมมีจำนวน 8 ราย ปัญหาการเรียนรู้ (LD) จำนวน 8 ราย เรียนรู้ช้า (ID) จำนวน 15 ราย และสมาธิสั้นมีจำนวน 32 ราย และพบว่าในปี 2561 (ข้อมูล ก.ค 61) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นจ.สตูล 10.32 (เกณท์ร้อยละ 9) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาออทิสติก จ.สตูล ร้อยละ 58.12 (เกณท์ร้อยละ11) อำเภอละงู พบว่าจำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นร้อยละ 5.41 (เกณท์ร้อยละ 9) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาออทิสติกร้อยละ 30.77 (เกณท์ร้อยละ11)

จากปัญหาดังกล่าว งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน” ขึ้น เพื่อค้นหาและเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้
  • ผู้ป่วยที่พบปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียน ได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 100
50.00 100.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน
  • เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน ร้อยละ 100
  • เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
  • เด็กวัยเรียนในพื้นที่ของตำบลกำแพงได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรม อารมณ์ โดยอาสาสมัครในชุมชน และได้รับการส่งต่อมายังสถานบริการ  ร้อยละ 100
50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 50
อาสาสมัครสาธารณสุข 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต

รายละเอียดกิจกรรม

  • ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ระหว่างอาสาสมัครในชุมชน และเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 ครั้ง

เป้าหมาย

  • อาสาสมัครในชุมชน และเจ้าหน้าที่จำนวน 19 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 1 มื้อ x 19 คน เป็นเงิน 475 บาท

รวมเป็นเงิน 475 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
475.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์

รายละเอียดกิจกรรม

  • ให้ความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรม และอารมณ์ แก่อาสาสมัครในชุมชนและผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม
    เด็กนักเรียนชั้นประถมของโรงเรียนเป้าหมาย ที่เข้ารับการตรวจประเมินด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 50 คน

ชื่อโรงเรียนเป้าหมาย: ผู้ปกครอง (คน)

  • โรงเรียนไสใหญ่(7)
  • โรงเรียนบ้านท่าแลหลา (10)
  • โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์(7)
  • โรงเรียนบ้านโกตา(8)
  • โรงเรียนบ้านอุไร(9)
  • โรงเรียนตูแตหรำ(9)

เป้าหมาย

  • อาสาสมัครในชุมชน จำนวน 60 คน
  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน

วันที่ 1 กลุ่มอาสาสมัครในชุมชน จำนวน 60 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 2 มื้อ x 67 คน เป็นเงิน 3,350 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 1 มื้อ x 67 คนเป็นเงิน 4,355 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่ายานพาหนะผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 60 คนๆละ 100 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3 เมตร จำนวน 1 แผ่น ๆละ 675 บาท เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน19,980 บาท

วันที่ 2 กลุ่มผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 2 มื้อ x 57 คนเป็นเงิน 2,850 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 1 มื้อ x 57 คนเป็นเงิน 3,705 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท x 1 วันเป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่ายานพาหนะผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนๆละ 100 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรมเป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 17,155บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37135.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ

รายละเอียดกิจกรรม

  • เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน ลงพื้นที่เยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 50 คน
  • ให้คำแนะนำ การช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรมและอารมณ์
  • กรณีพบเด็กที่มีอาการรุนแรง ส่งต่อเข้ารับการรักษา

เป้าหมาย

  • เด็กนักเรียนชั้นประถมของโรงเรียนเป้าหมาย ที่เข้ารับการตรวจประเมินด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 50 คน

งบประมาณ

  • ไม่ขอใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กวัยเรียนในพื้นที่ของตำบลกำแพงได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรม อารมณ์ โดยอาสาสมัครในชุมชน และได้รับการส่งต่อมายังสถานบริการร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,010.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านด้านพฤติกรรมและอารมณ์ในพื้นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
2. อาสาสมัครในชุมชนมีความรู้ในเรื่องปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียนเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อได้


>