กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนทุ่งใหญ่ร่วมใจคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ชุมชนบ้านทุ่งใหญ่

1. นายกลั้นบัวสาย
2.นายนิพลสุวรรณโณ
3.นางสาวธนัญญายอดสุวรรณ
4. นางสาวกฤษณีชื่นอารมณ์
5.นางสาวธัญจิราฮิ่นเซ่ง

อาคารเอนกประสงค์บ้านทุ่งใหญ่หมู่ที่ 8 ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่สำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานและนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อนเนื่องขึ้นทุกปีจากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทยมี 2559 พบว่ามีปริมาณการเกิดขยะรวมกันทั้งประเทศ 27.06 ล้านตันต่อปี เที่ยบเท่าตึกใบหยก 2 จำนวน 140 ตึก คิดเป็นประมาณ 74,130 ตันต่อวัน เฉลี่ยเป็นปริมาณาขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวันยังไม่รวมขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน (สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมพลพิษ 2559 ) สาเหตุเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ในพื้นที่จังหวัดสตูล ปี 2558 มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นวันละ 294.48 ตัน รวม 107,488.85ตัน/ปีโดยในเขตพื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสนปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น1,218.33ตัน/ปี ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาอยู่ที่ผ่านมาเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุยังไม่มีการแก้ไขหรือศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาดังนั้นการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมูลฝอยในลักษณะที่ยั้งยืนโดยอาศัยกระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยร่วมกันซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้
(กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานจังหวัดสตูล 2559

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน > ร้อยละ 80

80.00 150.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคักแยกขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ ให้ชุมชนรับทราบปัญหา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการคักแยกขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ ให้ชุมชนรับทราบปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่แกนนำเด็ก และประชาชนในชุมชนเป้าหมายตัวแทนครัวเรือนละ 1 คน จำนวน 150 คน
- ค่าป้ายโครงการ จำนวน ๑ป้าย= 500 บาท
ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมชี้แจง ให้ความรู้การคัดแยกขยะพร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ให้ชุมชนรับทราบปัญหา จำนวน 150 คน
-อาหารกลางวัน 60 บาท 150 คน เป็นเงิน 9,000 บาท
-อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ 40 บาท จำนวน 150คน เป็นเงิน 6,000บาท - ค่าวิทยากร 5 ซม.เป็นเงิน3,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนมีการจัดการขยะต้นทางจากครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการประกาศผลครัวเรือน คัดแยกขยะดีเด่นและประกวดขยะรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการประกาศผลครัวเรือน คัดแยกขยะดีเด่นและประกวดขยะรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการประกาศผลครัวเรือนคัดแยกขยะดีเด่นและประกวดขยะรีไซเคิล ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกาศผลครัวเรือนคัดแยกขยะดีเด่นจำนวน 150 คน
-อาหารกลางวัน 60 บาท 150 คน เป็นเงิน 9,000 บาท
-อาหารว่าง 2 มื้อ 40 บาท จำนวน 150คนเป็นเงิน 6,000บาท
-ค่าวัสสาธิตการคัดแยกขยะ จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน 7,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.ร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนมีการจัดการขยะต้นทางจากครัวเรือน
3. ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน


>