กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

รพ.สต.นาทอน

นางหทัยกาญจน์ สันมาหมีน

ตำบลนาทอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคหัดและโรคติดต่ออื่นๆ รวมทั้งการไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาด โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา รวมทั้งยังมีโรคระบาดอีกมากมายที่พบในพื้นที่ รวมทั้งโรคระบาดที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนก็เช่นเดียวกัน เป็นโรคที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบันนี้ เนื่องจากประชาชนยังขาดความตระหนักในการป้องกันโรค คิดว่าไม่มีความสำคัญ แต่เมื่อโรคเกิดขึ้นทำความสูญเสียให้กับประชาชนและภาพรวมของประเทศ
เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อเป็นการสร้างกระแสและกระตุ้นให้ประชาชนได้รับทราบและเกิดความพร้อมในการป้องกันโรค รวมทั้งให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ต่อไป
จากรายงานสถานการณ์โรคของศูนย์ระบาดวิทยาจังหวัดสตูล ปี2561 ( 1 มกราคม – 18 ธันวาคม ) พบจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก รวม 3กลุ่มโรค ( DHF, DSS, DF) มีจำนวน 110 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร เท่ากับ34.52 และสถานการณ์ของอำเภอทุ่งหว้า พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 15 รายคิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ64.44จากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2556-2560 พบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากร เป็น 22.17 ,0 ,0 ,22.69 และ 89.77 ตามลำดับ และ ปี2561 พบมีผู้ป่วยและผู้สงสัย ด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 35 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนแสนประชากรเท่ากับ 783.17 และจากรายงานสถานการณ์โรคปี 2561 พบมีผู้ป่วยที่ยืนยันด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนเท่ากับ 89.50 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นอัตราป่วยที่สูงและเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้(เกณฑ์กำหนดไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร) เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นๆแล้วพบว่าเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชน และการรับรู้เรื่องโรคของประชาชนยังน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้น เพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก และโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในพื้นที่ตำบลนาทอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญความสำคัญการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค และชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

0.00
2 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาทอน

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (CI) ให้เป็น 0 ในเขต

0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยเป็นไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00
4 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ และจัดการบ้านของตนเองให้ปลอดลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ60 ของบ้านทั้งหมด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2.ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.1, ม.2, ม.3, ม.6 และ ม.7 ต.นาทอน
3.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม.
4.วัณโรค
         4.1จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ ป้องกัน ควบคุมโรควัณโรคในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป) จำนวน 200 คน แบ่งเป็น 5 รุ่น รุ่นละ 40 คน (ม.1,ม.2,ม.3,ม.6,ม.7)
         4.2.คัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงวัณโรค และออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 200 คน X 20 บาท เป็นเงิน 4,000
-ค่าวัสดุในการจัดอบรม  เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยงในการออกคัดกรองวัณโรคและออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย จำนวน 5 วัน X 2 คน X 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
5.โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
     5.1 โรคหัด
          -กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคหัด จำนวน 170 คน
         -ออกติดตามพร้อมทั้งรณรงค์การฉีดวัคซีนโรคหัดในพื้นที่ ม.1,ม.2,ม.3,ม.6,ม.7 ต.นาทอน
    5.2 โรคไข้หวัดใหญ่
        -กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 150 คน
        - ฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่
ค่าใช้จ่าย
     -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 170 คน X 20 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท
     -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน  1,000 บาท
     -ค่าเบี้ยเลี้ยงในการออกติดตามและฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคหัด จำนวน 5 วัน X 2 คน X 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
     -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 150 คน X 20 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
     -ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 500 บาท
6.กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนแกนนำในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน(เรื่องโรคติดต่อ) จำนวน 120 คน (แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 60 คน)
    -ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 120 X 60 บาท เป็นเงิน 7,200
   -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 120 คน X 2 มื้อ X 20 บาท เป็นเงิน 4,800
   -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน X 2 ชั่วโมง X 300 บาท X 2 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
   -ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 2,400 บาท
7. จัดบอร์ดความรู้ในโรงเรียนเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย (จำนวน 5 บอด)
   -ค่าวัสดุในการจัดบอร์ดความรู้ เป็นเงิน 2,500 บาท
8.กิจกรรมรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกย้ำยุงลายพร้อมการจัดการสิ่งแวดล้อม ในมัสยิด โรงเรียน และสถานที่ราชการใน ม.1,ม.2,ม.3,ม.6 และ ม.7 ต.นาทอน
    -ค่าเบี้ยเลี้ยงในการออกรณรงค์ จำนวน 5 วัน X 2 คน X 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
9.กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและผู้สงสัยด้วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย
10.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่าHI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (ค่าCI) เป็น 0 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
3.อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
4.ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
5.เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
6.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค ร้อยละ 95


>