กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยเงียบในผู้ชาย ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กลุ่ม อสม. ชุมชนการเคหะ
1. นางประพรอันตรเสน
2. นางศิริวรรณ แซ่โค้ว
3. นางสาวอุดมลักษณ์ อันตรเสน
4. นางตาแก้วหมุน
5. นางเสาวพจน์ บัวผุด

ชนชนการเคหะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นโรคหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในผู้ชายและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในอดีต 10 กว่าปีที่แล้ว จะจัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของมะเร็งทั่วโลก และพบว่า 40% ของผู้ชายที่มาพบแพทย์อยู่ในระยะท้ายๆ เพราะฉะนั้น การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ถ้าสามารถตรวจพบในระยะต้นและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว โอกาสในการรักษาจะได้ผลดี ผู้ป่วยมีโอกาสรักษาหายไม่ถูกตัดอันฑะ ซึ่งจะส่งผลถึงสภาพจิตใจหรือสามารถป้องกันมิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ด้วยเหตุที่คนมีความเสี่ยงผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเริ่มมีอาการปัสสาวะผิดปกติ รวมถึงคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากควรจะได้รับการตรวจจากแพทย์ด้วยวิธีการตรวจทางทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง หรือการเจาะเพื่อหาสารบ่งชี้ P.S.A. (Postage specific antigen) test
มะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ซึ่งการรักษาแต่ละระยะจะมีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นการผ่าตัด การให้ยาฮอร์โมน (Hormone) การใช้รังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาอาจใช้วิธีการเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการ อายุ สุขภาพผู้ป่วย และระยะของโรค หากว่าผู้ป่วยมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพ น่าจะได้มีสิทธิในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นประโยชน์ และช่วยผู้ป่วยได้อย่างมากมายเพราะการพบผู้ป่วย ในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาหายรักษาง่าย และน้อยกว่ารักษาในระยะท้ายๆ
นับเป็นข่าวดี สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในการเข้าถึงยาและการรักษา โดยไม่ต้องสูญเสียลูกอัณฑะจากการผ่าตัดทิ้ง โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้บรรจุ LHRH analogues เข้าในบัญชีหลักแห่งชาติ พ.ศ.2560 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึง 2,000 ราย ต่อปี และคนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากไม่ปรากฏอาการที่เด่นชัด ในระเริ่มต้น รวมถึงความเชื่อในอดีตที่ผู้ป่วยจะเข้าใจว่าเมื่อเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต้องตัดลูกอัณฑะทิ้ง ทำให้ไม่อยากเข้ารับการรักษา
จากปัญหาดังกล่าว สาเหตุเกิดจากคนในชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียงขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคมะเร็งต่อลูกหมากที่เป็นในผู้ชาย และทำให้ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตในที่สุด ถ้าหากปัญหานี้ไม่ได้รับแก้ไข อาจจะส่งผลต่อสุขภาพประชาชนได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในชุมชน ทางชุมชนการเคหะจึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ภัยเงียบในผู้ชาย ประจำปี 2562 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวเรื่องของการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ข้อที่ 2 ประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลาเป็นจำนวนร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การป้องกันและการดูแลผู้ป่วย จำนวน 80 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การป้องกันและการดูแลผู้ป่วย จำนวน 80 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน คนละ 30.-บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ
                         เป็นเงิน     4,800.-บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ ละ 80.-บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ
                         เป็นเงิน     6,400.-บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน      6 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                         เป็นเงิน    3,600.-บาท
4. ค่าเช่าสถานที่ (โบสถ์คริสตจักร)
                         เป็นเงิน     1,000.-บาท 6. ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) จำนวน       2 ผืนๆ ละ 1,000.-บาท                          เป็นเงิน     2,000.-บาท 7. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 80 ชุดๆ ละ 20.-บาท
                         เป็นเงิน     1,600.-บาท 8. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์    - ปากกา จำนวน 80 ด้ามๆ ละ 5.-บาท
                         เป็นเงิน       400.-บาท    - สมุดปกอ่อน จำนวน 80 เล่มๆ ละ 10.-บาท                    เป็นเงิน       800.-บาท    - แฟ้มกระดุม จำนวน 80 ชิ้นๆ ละ 10.-บาท                    เป็นเงิน       800.-บาท                        รวมเป็นเงิน  2,000.-บาท

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 21,400.-บาท
(เงินสองหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเจ็บป่วย ตาย และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของประชาชนและภาครัฐ
2. สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้
3. เพื่อให้ประชาชนหางไกลโรคมะเร็งต่อมลูกหมากและเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>