กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย สำหรับนักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทย สำหรับนักเรียนโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา

โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ โดยเฉพาะแนวคิดการดูแล สุขภาพตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี ควรคำนึงถึงการปรับวิถีชีวอตในพฤติกรรมต่าง ๆ ตามแบบแผนการใช้ชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลต่อการ ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพดี พฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่ การออกกำลังกาย การพักผ่อน การรับประทานอาหารและการทำงานรวมถึงการดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย ถ้าประชาชนสามารถส่งเสริมให้มีการดูแลรักษาตนเอง โดยใช้ยาสมุนไพรหรือการนวดไทย จะสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง สร้างสมดุลการไหลเวียนของร่างกาย ป้องกันโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังได้ ที่สำคัญถ้าสามารถประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ก็ยิ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้บริการของสถานบริการ ยังเป็นผลดีและจะทำให้ประหยัดร่ายจ่ายและเป็นการพึ่งตนเองได้ด้วย
การใช้สมุนไพร เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลานาน เนื่องจากคนไทยสมัยก่อนมีการพึ่งตนเองในด้านการรักษาพยาบาลสูง ด้วยเหตุที่ในสมัยก่อนยังไม่มีสถานบริการด้านสาธารณสุขทีบริการประชาชนอย่างทั่วถึงเหมือนในปัจจุบันเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นใน จึงมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น หรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลาย ชั่วอายุ ในปัจจุบันประเทศไทยมีความสนใจมาใช้ยาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยมากขึ้น เช่นการรักษา โรคไข้หวัด โรคอุจจาระร่วงสามารถใช้สมุนไพรแทนการใช้ยาปฏิชีวนะได้
จากแนวทางดังกล่าว ทางโรงเรียนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ในท้องถิ่นและชุมชนที่นักเรียนสามารถนำมาใช้ประโยชน์จึงได้ทำการสำรวจนักเรียน จำนวน 6,000 คน ที่ให้ความสนใจในด้านสมุนไพร พบว่ามีนักเรียนที่ให้ความสนใจด้านสมุนไพรมากที่สุด ร้อยละ 3.33รองลงมามีความสนใจด้านสมุนไพรปานกลาง ร้อยละ 1.88 และมีความสนใจด้านสมุนไพรน้อยร้อยละ 1.48 ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ ให้กับนักเรียนที่มีความสนใจด้านสมุนไพรมากที่สุด เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากสมุนไพรที่สามารถหาได้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ทางโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิจึงมีความ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย  ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2 ผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมผ่านงบ สนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

2.ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับคณะอาจารย์ และนักเรียน นักศึกษาแกนนำ จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับคณะอาจารย์ และนักเรียน นักศึกษาแกนนำ จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ      1 มื้อๆ ละ 25.-บาท                                    เป็นเงิน          500.-บาท         รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 500.-บาท
                     (เงินห้าร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ นักเรียนจำนวน 100 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 110 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ นักเรียนจำนวน 100 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 110 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของนักเรียน จำนวน 100 คน และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง 10 คน รวมเป็น 110 คนๆ ละ 30.-บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ
                                   เป็นเงิน       6,600.-บาท 2.2 ค่าอาหารกลางวัน ของนักเรียน จำนวน 100 คน และเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้อง 10 คน รวมเป็น 110 คน     คนละ 80.-บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ
                                  เป็นเงิน        8,800.-บาท 2.3 ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์  ประกอบด้วย      - แฟ้มบรรจุเอกสาร จำนวน 100 แฟ้ม ๆ ละ 15.-บาท                            เป็นเงิน        1,500.-บาท      - ปากกา จำนวน 100 ด้าม ๆ  ละ 5 บาท 
                                  เป็นเงิน           500.-บาท      - สมุนไพรสาธิต          เป็นเงิน           500.-บาท                                  รวมเป็นเงิน   2,500.-บาท

2.4 ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) โครงการ ขนาด   1.5x4 เมตร จำนวน 1 ป้าย           
                                  เป็นเงิน       1,200 –บาท

2.5 ค่าถ่ายเอกสารจัดทำคู่มือประกอบการอบรมเล่มละ 10.-บาท จำนวน 100 เล่ม                                   เป็นเงิน       1,000 -บาท
2.6 ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600.-บาท
                                   เป็นเงิน       2,400.-บาท 2.7 ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่มๆ ละ      1 ท่าน ๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท จำนวน 4 ท่าน
                                    เป็นเงิน      4,800.-บาท

รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 27,300.-บาท (เงินสองหมื่นแปดพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพป้องกันการเจ็บป่วยด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
2. ส่งเสริมภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบัน
3. สามารถนวดผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว จากการเอาใจใส่ดูแลต่อกัน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>