กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กเล็กสุขภาพอนามัยดี มีพัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน

1.นางสุกัลยา สอเหลบ
2.นางนิตยา หีมปอง
3.นางสาวสุไลยา ชายเกตุ
4.นางนัยนา มานะกล้า
5.นางสาวศิวัชญา จิโส๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน หมู่ที่ 1 ต.นาทอนอ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเล็กหรือเด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีค่า ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต ตามนานาอารยประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมและสิ่งที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามคุณลักษณะพึงประสงค์ได้นั้นก็คือ “การศึกษา” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเตรียมความพร้อม และการส่งเสริมมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากสถานการณ์ปัจจุบัน สังคมไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาหลายๆด้าน มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อสร้างเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นพลเมืองเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ สังคมในยุคสื่อหลอมรวม แม้จะมีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น แต่สื่อที่เหมาะสมกับเด็กกลับเข้าถึงเด็กและเยาวชนในปัจจุบันได้น้อยมากโดยมีปริมาณการเข้าถึงสื่อรวมกันไม่ถึงร้อยละ 10 โดยเด็กใช้เวลาไปกับการใช้สื่อสูงถึง 8 – 9 ชั่วโมงใน 1วัน เกิดพฤติกรรมอันนำไปสู่ทุกขภาวะ เช่น พฤติกรรมเด็กติดเกม การเสพติดสื่อออนไลน์ การติดหน้าจอ การบริโภคขนมขบเคี้ยว และพฤติกรรมเนือยนิ่ง ขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เกิดโรคอ้วน โรคสมาธิสั้น โรคทางสายตา อารมณ์แปรปรวนและรุนแรง และความเสื่อมถอยทางทักษะการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่พึงจะมีในด้านสุขภาวะทางกายของเด็ก ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ข้อมูลจากการแถลงข่าวใน ปี 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาวะโภชนาการในเด็กเล็กจากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 (MICS 5) พบว่าภาวะโภชนาการเมื่อเทียบกับปี 2555 (MICS 4) ดีขึ้นในทุกตัวชี้วัด แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 6.7 มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 5.4 มีภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน (ผอม) ร้อยละ 10.5 มีภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง (เตี้ย) และร้อยละ 8.2 มีน้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (อ้วน) เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior) เด็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้คาดการณ์ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีเด็กไทยถึง 1 ใน 5 ที่อยู่ในภาวะอ้วน และนอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาล่าช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น ก็ยังมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก โดยเฉพาะ โรคฟันผุ โดยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ถูกต้อง การทำความสะอาดไม่ถูกวิธี และพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง รวมทั้งปัญหาที่เด็กป่วยจากการติดเชื้อโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อที่พบบ่อยๆเช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดงโรคผิวหนัง โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น คางทูม อีสุกอีใส และหัด เป็นต้น ซึ่งปัจจัยและปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การเจ็บป่วยบ่อยๆทำให้เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญาที่ลดลงเรื่อยๆ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะได้รับการพัฒนาในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สมอง การเรียนรู้ บุคลิกภาพ รวมทั้งการปลูกฝังการเป็นพลเมืองที่ดี มีทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเป็นพลเมืองดีของสังคมและจากการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน ซึ่งมีเด็กทั้งหมด จำนวน 100 คน ได้มีการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก พบว่าเด็กร้อยละ17 ที่จะต้องเฝ้าระวังด้านภาวะโภชนาการ เด็กร้อยละ 51 ที่เป็นโรคฟันผุ และเด็กร้อยละ48ป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆที่จะต้องมีมาตรการในการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรค เช่น โรคมือ เท้า โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหวัดบ่อยๆและเด็กร้อยละ48 ที่จะต้องส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัย
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน จึงได้มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการดูแลและส่งเสริมให้เด็กเล็กมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ สุขภาพอนามัยที่ดีและมีพัฒนาการอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา จึงได้จัดทำโครงการ “เด็กเล็กสุขภาพอนามัยดี มีพัฒนาการสมวัย”ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ครู/ผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก และครู/ผู้ดูแลเด็ก ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และเพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีทักษะการดูแลตนเอง โดยความร่วมมือของโรงพยาบาลอำเภอทุ่งหว้า ส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน องค์บริหารส่วนตำบลนาทอน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาทอน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัยและผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย

1.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง ครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง และนำไปปฏิบัติใช้กับเด็กวัย 2-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการดูแลตนเองและมีสุขนิสัยที่ดีทุกคน
3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันผุลดลงและผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

1.ร้อยละ 80ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและมีฟันผุลดลง
2.ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
3.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ที่มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

0.00
3 เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

1.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
2.ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3.เด็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย
1.1 ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อชี้แจงโครงการ
งบประมาณ ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x20บ. = 400 บ. เป็นเงิน400 บาท
1.2 ประชุมผู้ปกครองเด็กตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อชี้แจงโครงการ
งบประมาณค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 97 คน x 20 บ. =1,940 บ. เป็นเงิน 1,940บาท
รวมเป็นเงิน 2,340บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการเด็กเล็กสุขภาพอนามัยดี มีพัฒนาการสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2340.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการในเด็กปฐมวัย 2-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการในเด็กปฐมวัย 2-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการในเด็กปฐมวัย 2-5 ปี และฝึกทักษะการตรวจประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้คู่มือเฝ้าระวัง คัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
งบประมาณ -ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน X 2 ชม.x 300บ.=1,200 บ.
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20บ.x 100คน =2,000 บ.
-ป้ายไวนิลโครงการ กว้าง 2 x 3 ม. จำนวน 1ผืน x 900 บ. = 900 บ.
เป็นเงิน4,100บาท 2.2กิจกรรมตรวจและคัดกรองเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพและประเมินคัดกรองพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวัง คัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
งบประมาณ
-ค่าวัสดุในการจัดทำแบบบันทึกสุขภาพและคู่มือเฝ้าระวัง คัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
-กระดาษ A4 จำนวน 3รีม.x700บ. = 2,100บ.
-กระดาษอิงค์เจทจำนวน 8 ห่อ x 155บ.=1,240 บ.
-หมึกปริ้น จำนวน 5 ขวดx160 = 800 บ.
เป็นเงิน4,140บาท
2.3 ครู/ผู้ดูแลเด็กร่วมกันผลิตสื่อหนังสือภาพเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
งบประมาณ
-ค่าวัสดุในการผลิตสื่อหนังสือภาพและสื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-กระดาษแข็งทำอุปกรณ์ เบอร์ 20 จำนวน 15 แผ่น x 20 บ.=300 บ.
-กระดาษโปสเตอร์สีหนา จำนวน 1โหลx 110 บ.= 110 บ.
-กระดาษโฟโต้ A4 ขนาด 230 แกรม จำนวน 1 ห่อ x 250 บ.= 250 บ.
-สติกเกอร์กระดาษ ขาวด้านA4 (คละสี) จำนวน 3ห่อ x 230 บ= 690 บ.. -ตาไก่ทองเหลือง เบอร์ 28 จำนวน 5 กล่อง x 35 บ.= 175 บ.
-หมุดทองเหลือง 2 ขา ขนาด 1.5 จำนวน 5 กล่อง x 50 บ.= 250 บ.
-สติกเกอร์พีวีซีใส A4 จำนวน 1ห่อ x 230 บ.= 230 บ.
-กาวลาเท็กซ์ จำนวน 1 ขวด x 65 บ.= 65 บ.
-กระดุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม.จำนวน 100 เม็ด x 5 บ.= 500 บ.
-ผ้าสักหลาดแบบแข็ง ขนาด 1 หลา คละสี จำนวน 5 ชิ้น x 180 บ.= 900 บ.
-แผ่นแม่เหล็กสำหรับผลิตสื่อ จำนวน 2 เมตรx250=500 บ.
เป็นเงิน 3,970บาท
2.4 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังกายในตอนเช้าทุกวัน
งบประมาณ
-ค่าวัสดุในการสาธิตการออกกำลังกาย
-เชือกกระโดดสำหรับเด็ก จำนวน 20 อันx120 บ.=2,400 บ.
-ริบบิ้นผ้า จำนวน 4 ม้วน x 85 บ. =340 บ.
-ท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จำนวน 10 เส้น x 70 บ.=700 บ.
-ฮูล่าฮุป จำนวน 13 เส้น x 160 บ.= 2,080 บ.
เป็นเงิน5,520 บาท
2.5จัดกิจกรรมหนูน้อยมือสะอาดเพื่อเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลความสะอาดของร่างกาย
งบประมาณ-ค่าวัสดุในการสาธิตการและส่งเสริมการล้างมือของเด็กปฐมวัย
-ค่าสบู่เหลวล้างมือสำหรับใช้ในการสาธิตการล้างมือ จำนวน 15 ขวด x 150 บ. =2,250 บ.
-ผ้าขนหนูเช็ดมือ จำนวน 100 ผืน x 30 บ. = 3,000 บ.
-กล่องใส่ทิชชูสำหรับติดฝาผนัง จำนวน 2 กล่อง x 400 บ. = 800 บ.
เป็นเงิน6,050บาท
2.6 จัดทำป้ายโฟมบอร์ดแนวทางปฏิบัติการสร้างความผูกพัน ภูมิคุ้มกันทางจิตใจและวิธีการล้างมือ 7 ขั้นตอน
-ค่าป้ายโฟมบอร์ดแนวทางปฏิบัติการสร้างความผูกพัน ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ขนาด 80x100 ซม.จำนวน 1 แผ่นx 480 บ.= 480 บ.
-ค่าป้ายโฟมบอร์ดวิธีการล้างมือ 7 ขั้นตอน ขนาด 80x100 ซม.จำนวน 1 แผ่นx 480บ.= 480 บ.
เป็นเงิน 960 บาท
รวมเป็นเงิน 24,740 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครอง ครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง และนำไปปฏิบัติใช้กับเด็กวัย 2-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการดูแลตนเองและมีสุขนิสัยที่ดีทุกคน
3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24740.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมยิ้มสดใส ห่างไกลฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย
3.1จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากของเด็กให้แก่ผู้ปกครอง ครู /ผู้ดูแลเด็ก
งบประมาณ-ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน X 2 ชม.x 300บ.=1,200 บ.
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน180 คน x 20 บ. =3,600 บ.
ค่าวัสดุในการสาธิตและทดลองปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี
-แปรงสีฟันสำหรับเด็ก จำนวน 100 อัน x 25 บ.=2,500 บ.
-ยาสีฟันสำหรับเด็ก จำนวน 100 อัน x 25 บ. =2,500 บ.
-แก้วน้ำ จำนวน 100 ใบ x 25 บ. =2,500 บ.
เป็นเงิน 10,700 บาท
3.2จัดกิจกรรมการคัดกรองสุขภาพในช่องปากให้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลทุ่งหว้าและครู/ผู้ดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง
งบประมาณ
-ค่าวัสดุในการจัดทำแบบบันทึกสุขภาพ
-กระดาษ A4 จำนวน1 รีม. x 700บ. =700 บ.
-กระดาษอิงค์เจท 4 ห่อ x 155 บ.= 620 บ.
เป็นเงิน 1,320 บาท
3.3 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันโดยมีครูคอยช่วยเหลือทุกวันและตรวจความสะอาดฟันของเด็กทุกคนหลังจากแปรงฟันเสร็จ
งบประมาณ -ไม่มี
รวมเป็นเงิน 12,020 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและมีฟันผุลดลง
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
3.ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ที่มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12020.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอาหารดีมีโภชนาการสมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารดีมีโภชนาการสมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 จัดกิจกรรมอบรมโดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและสาธิตและทดลองประกอบอาหารเพื่อสุขภาพของเด็กปฐมวัย
งบประมาณ -ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน X 2 ชม.x 300 บ.=1,200 บ.
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 20 บ. =2,000บ.
-ค่าวัตถุดิบในการสาธิตและทดลองประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กปฐมวัย= 3,000 บ.
เป็นเงิน 6,000 บาท
4.2 กิจกรรมหนูน้อยปลูกผัก…ปลูกนิสัยชอบรับประทานผักโดยเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้แก่เด็กและร่วมกันลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผัก
-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน X 2 ชม.x 300 บ.=600 บ.
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20บ.x100 คน =2,000 บ.
ค่าวัสดุใช้ในการสาธิตและส่งเสริมการปลูกผัก
-พันธุ์ผักต่างๆ = 400 บ.
-มูลไก่ จำนวน 25 กระสอบ x 40 บ.= 1,000 บ.
-บัวรดน้ำ ขนาด 2ลิตร จำนวน 10 ใบ x 50 บ.=500 บ
เป็นเงิน 4,500 บาท
4.3 จัดทำป้ายโฟมบอร์ดแนวทางปฏิบัติในการจัดอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
-ค่าป้ายโฟมบอร์ดแนวทางปฏิบัติในการจัดอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ขนาด 80x100 ซม. จำนวน 1 แผ่นx 480บ.= 480 บ.
เป็นเงิน 480 บาท
รวมเป็นเงิน 10,980 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3.เด็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10980.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,080.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาเหมาะสมตามวัยและผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพอนามัยและการส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย
2.ทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันผุลดลงและผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย
3.ความรู้ผู้ปกครองครู ผู้ดูแลเด็ก ในเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและเด็กมีเจตคติที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย


>