กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ควบคุมป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

รพ.สต.บ้านโคกยา

รพ.สต.บ้านโคกยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งเกิดจากสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันเพื่อจะสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวานก็เป็นโรคหนึ่งที่มีอุบัติการณ์การเกิดโรคที่เพิ่มขึ้น ต้องใช้งบประมาณในการรักษาจำนวนมาก ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆสามารถป้องกันได้ ถ้าประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยรายใหม่ได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม
ปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยามีกลุ่มเป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,043 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองจำนวน273 คน
จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 183 คน ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 64 คนพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 12 คน จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 175 คน ซึ่งถือว่าเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาที่จะต้องลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรค ให้กลับมาเป็นกลุ่มปกติให้มากที่สุด โดยใช้แนวทางตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินงาน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเป็นบทบาทหน้าที่ในการป้องกันควบคุมโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนางานขึ้นเสริมจากงานปกติ (งานเชิงรุก)โดยมีกลยุทธ์ กลวิธีที่มีลักษณะเฉพาะที่เน้นการให้ความรู้และส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เห็นในเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างทักษะการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรค กลุ่มป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้นในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพิ่มความรู้ เพื่อสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน

100%ของ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น

0.00
2 ข้อที่ 2ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

80%ของกลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มปกติหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
3 ข้อที่ 3ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มป่วย

90%ของกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ตา เท้า แทรกซ้อน  ตา ไต สมองและ หัวใจ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/12/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้ค้นหาผู้ป่วยต้นแบบในการดูแลสุขภาพ
ให้ความรู้กลุ่มป่วยที่รับยานอกสถานบริการจำนวน 120 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่กลุ่มปกติหลังเข้าร่วมโครงการและสามารถอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง -ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยให้สามารถมีความรู้ในการดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ -สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-กลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่กลุ่มปกติหลังเข้าร่วมโครงการและสามารถอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
-ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยให้สามารถมีความรู้ในการดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
-สร้างความต่อเนื่องและยั่งยืนในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง


>