กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำและอาหารปลอดภัยในชุมชน ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้านโคกทราย ม.5 ตำบลดอนทราย

1.นายจบช่วยมณี
2.นางจารึก อินทรเพชร
3.นางสาวจารวี แก้วจันทร์
4.นางจิราภรณ์ณ สุย
5.นางนัยนา ชนะกาญ

ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น รวมถึง การบริโภคอาหารจากแผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน รวมถึงเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทรายร่วมกับคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจาการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพ และอาหารปลอดภัย
  1. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำ ปลอดจากการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านชำได้
  2. ร้อยละ 80 ของแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น
30.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย
  1. ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ
30.00
3 เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพในร้านขายของชำ และเฝ้าระวัง แผงลอยจำหน่ายอาหาร

1.ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้รับการตรวจสอบ/ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง

30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้  1 วัน
    • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 70 บาทจำนวน 30 คน เป็นเงิน 2,100 บาท         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 30 คน เป็นเงิน  1,500 บาท         - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 วันๆละ 6 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน  1,800   บาท         - ค่าเอกสาร ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6150.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมลงประเมินร้านชำ/แผงลอย

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมลงประเมินร้านชำ/แผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.กิจกรรมลงประเมินร้านชำ/แผงลอย - ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมิน จำนวน  20 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน  200 บาท
- ค่าชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้นในอาหาร (SI-2)พร้อมน้ำยา 20 ตัวอย่าง จำนวน 1 ชุดๆละ 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้รับการตรวจสอบ/ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.1 ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำ ปลอดจากการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านชำได้
1.2 ร้อยละ 80 ของแผงลอยผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น
1.3 ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ
1.4 ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ได้รับการตรวจสอบ/ประเมินติดตาม และเฝ้าระวัง


>