กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนทราย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นางจารึก อินทรเพชร
2.นางปรีดา รัตนคีรี
3.นางหทัยชนก ทองคง
4.นางจิราภรณ์ ณ สุย
5.นางจารวี แก้วจันทร์

พื้นที่ตำบลดอนทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
กรมอนามัยกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนให้แข็งแรงและฉลาด มีเป้าหมายสอดรับกับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการให้เด็กวัยเรียนเจริญเติบโตสูงดีสมส่วนเต็มศักยภาพ และมีทักษะด้านความฉลาดทางสติปัญญาหรือ IQ เกิน 100 โดยกำหนดตัวชี้วัดปี 2562 ให้เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนร้อยละ 63 ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า เด็กไทยอายุ 0-5 ปี เตี้ยร้อยละ 10.6 ซึ่งดีขึ้นจากเดิมแต่ที่ยังคงเป็นปัญหาคือภาวะอ้วนพบ ร้อยละ 9.1 กล่าวได้ว่า 1 ใน 10 ของเด็ก 0-5 ปี มีภาวะอ้วน และเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนพบว่า เด็กอายุ 6-14 ปี มีภาวะเตี้ยดีขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ที่เป็นปัญหาคือภาวะอ้วนที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.1 กรมอนามัยจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อปัญหาด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตใน 10 จังหวัด กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กพร้อมแก้ไขปัญหากรณีที่เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพราะอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ซึ่งปัญหาทางโภชนาการที่ส่วนใหญ่ เกิดจากภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีนและภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงการให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
จากข้อมูลทารกแรกคลอดมีชีพมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในปี 2560-2562 พบว่ามีจำนวน 2คน และข้อมูลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก ๐-5 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี มีจำนวน 85 คน มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ร้อยละ 83.5 พบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 16.47 ซึ่งแบ่งออกเป็นเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีจำนวนร้อยละ 9.41 มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ร้อยละร้อยละ 7 และมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วนร้อยละ 54.5 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญ เติบโตของสมอง สารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมองหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนการศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็ก ๐-5 ปี ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในการดำเนินการที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ยังมีความจำเป็นและเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์และทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตามเกณฑ์รวมทั้งให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ น้ำหนักสูงดีสมส่วน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิตประจำปี 2562 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ร้อยละ 100

10.00
2 2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กแรกเกิด – 2 ปี มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ การจุดกราฟการเจริญเติบโต และการใช้คู่มือ DSPM

2 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กแรกเกิด – 2 ปี มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ การจุดกราฟการเจริญเติบโต และการใช้คู่มือ DSPM ได้ร้อยละ 90

22.00
3 3เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

3.เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ร้อยละ 70

15.00
4 4.เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี สูงดีสมส่วน มีพัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ

4.เด็กแรกเกิด – 2 ปีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 85 มีน้ำหนักสูงดี สมส่วน ร้อยละ 57 และฟันไม่ผุร้อยละ 85

0.00 22.00
5 5.เพื่อส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพ และเลี้ยงดูได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

5.ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ และเลี้ยงดูได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ร้อยละ 90

30.00

1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเรื่องโภชนาการที่ดีสำหรับหญิงตั้งครรภ์และสำหรับเด็กอายุ 0-2 ปี รวมทั้งการใช้คู่มือ DSPM ในการประเมินพัฒนาการของเด็ก จำนวน 40 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองจำนวน 40 คน มีความรู้เรื่องโภชนาการร้อยละ 90 ผู้ปกครองเด็กจำนวน 40 คน สามารถใช้คู่มือ DSPM ในการประเมินพัฒนาการเด็กได้ ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการสนับสนุนไข่ให้กับเด็กที่มีปัญหาน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้ำหนักน้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสนับสนุนไข่ให้กับเด็กที่มีปัญหาน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้ำหนักน้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการสนับสนุนไข่ให้กับเด็กที่มีปัญหาน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้ำหนักน้อย จำนวน 8 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีปัญหาน้ำหนักค่อนข้างน้อยและน้ำหนักน้อย จำนวน 8 คน ได้รับการสนับสนุนไข่เป็นเวลา 4 เดือน และมีภาวะโภชนาการที่ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการสนับสนุนนมแก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสนับสนุนนมแก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.กิจกรรมการสนับสนุนนมแก่หญิงตั้งครรภ์ 90 วัน 90 กล่อง จำนวน 1 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์จำนวน 1 คน ได้รับการสนับสนุน 90 วัน 90 กล่อง และมีภาวะโภชนาการที่ดี ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1260.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการสนับสนุนไข่และนมให้กับเด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสนับสนุนไข่และนมให้กับเด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการสนับสนุนไข่ให้กับเด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี วันละ 1ฟอง จำนวน 12 คน และนมให้กับเด็กอายุ 1-2 ปี วันละ 1 กล่อง จำนวน 8 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี จำนวน 20 คน ได้รับนมและไข่ ทุกคนร้อยละ 100 และมีภาวะโภชนาการสูงดี สมส่วน ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กอายุ 0-5 ปี มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคขาดสารอาหารและโรคอ้วน
๒. เด็กมี IQ และ EQ ที่อยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐาน
๓. มีระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


>