กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

หมู่ที่1,2,6,8,10,12,13,14

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ณ 31 ธันวาคม 2561พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 1,934 ราย มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 2 ราย ที่อำเภอหาดใหญ่ สถานการณ์ พื้นที่ตำบลนาทับยังพบผู้ป่วยอยู่ ในระหว่างปี 2559-2561 พบมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 63 ราย ,37 ราย และ 20 ราย ตามลำดับคิดเป็นอัตราป่วย 150.65 ต่อประชากรแสนคน ในปี2561โดยไม่มีผู้เสียชีวิตจากสถิติข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าจากการได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทับทำให้การดำเนินกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้ผลในระดับดีแต่ด้วยลักษณะในพื้นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงของการการเกิดโรคตำบลนาทับจึงยังคงมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปีประกอบกับตำบลนาทับเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตลอดทั้งปี โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับยังต้องเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคกันอย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก2. เพื่อให้ประชาชนในตำบลนาทับเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย3. เพื่อปฏิบัติการควบคุมป้องกันโรคในหมู่บ้าน/โรงเรียน4. เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกระดับตำบล(SRRT)

1.ร้อยละ80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย3. ค่าอัตราความชุกน้ำยุงลายในโรงเรียน = 0 ค่าอัตราความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน =เกิน 10% 4. ทีมควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกระดับตำบล(SRRT)มีความเข็มแข็งในการ ดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทีมงานควบคุมและป้องกันโรคระดับตำบลและหมู่บ้าน 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะทีมงานควบคุมและป้องกันโรคระดับตำบลและหมู่บ้าน2.ติดตามแกนนำนักเรียนดำเนินงานดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน3.ติดตามแกนนำครอบครัวการดำเนินงานดูแลควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านแยกเป็นรายหมู่บ้าน4.

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมติดตามการดำเนินงานของคณะทีมงานควบคุมและป้องกันโรคระดับตำบลและหมู่บ้าน2.ติดตามแกนนำนักเรียนดำเนินงานดูแลควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน3.ติดตามแกนนำครอบครัวการดำเนินงานดูแลควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านแยกเป็นรายหมู่บ้าน4.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่าง 25 บาทX30 คนX4 ครั้ง =3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 25 บาทX 50 คนX7 ครั้ง=8,750 บาท 3.ค่าอาหารว่าง 25บ.x160 คน x4ครั้ง=16,000 บ 4.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์พร้อมโครงไม้หมู่ละ 2 แผ่น X 8 หมู่ X 1,000 บาท=16,000 บาทค่าจ้างเหมา 1 งาน = 30,000 บ. 5.ค่าวัสดุ(น้ำมัน)   = 43,200   บาท. 6.ค่าวัสดุ(น้ำยาพ่น) 1,860บ./ลิตร x14 ลิตร = 26,040   บาท. 7.ค่าวัสดุ(ทรายอะเบท)4,200บ./ถัง X10ถัง = 42,000 บาท 8.ค่าวัสดุ(โลชั่นกันยุงสำหรับผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรคในครัวเรือน)10บ./ชอง X2,000ชอง = 20,000   บาท 9.ค่าถ่ายเอกสาร 500 บาท.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกร้อยละ802.ค่าอัตราความชุกน้ำยุงลายในโรงเรียน = 0 ค่าอัตราความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน =เกิน 10%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
205490.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 205,490.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลนาทับเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2.ภาคีเครือข่ายมีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการร่วมมือกันควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
ในชุมชนตำบลนาทับอย่างต่อเนื่อง


>