กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านหินคอกควาย ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา

รพ.สต.บ้านหินคอกควาย

รพ.สต.บ้านหินคอกควาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนไทยเจ็บป่วยพิการและตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นและมีแนวโน้มทวีมากขึ้นเรื่อยๆทุกปีสาเหตุจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วน หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมโรคเหล่านี้อาจจะมีอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากในอนาคตซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจาการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ถูกต้องได้แก่การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องการรับประทานอาหารที่รสจัด เช่น เผ็ดจัดเค็มจัดหวานจัดเป็นต้นสำหรับอาหารที่ประชาชนควรบริโภคกลับได้รับความสนใจน้อยลงเช่น ผักและ ผลไม้เป็นต้นการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอทุกปีการบริโภคอาหารให้ถูกต้องการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามเพศ ตามวัยและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องนับว่าเป็นวิธีที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตรวมทั้งยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและของประเทศซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกด้วย ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินคอกควายจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๖2 กลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ พื้นที่รับผิดชอบจำนวน ๔ หมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคอ้วนลงพุง ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เพื่อลดภาวะ การเกิดโรคและความพิการ และการเสียชีวิตในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และปฏิบัติตนในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคอ้วนลงพุง
2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด และโรคอ้วนลงพุงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 2 ส. แก่กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ และคณะทำงาน เวลา 1 วัน จำนวน 70 คน (กลุ่มเสี่ยง 60 คน คณะทำงาน 10 คน)
  2. จัดทำการสนทนากลุ่ม บุคคลต้นแบบและกลุ่มเสี่ยง 1 ครั้ง จำนวน 70 คน โดยเจ้าหน้าที่และคณะทำงานในชุมชน (กลุ่มเสี่ยง 60 คน คณะทำงาน 10 คน)
  3. ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ น้ำหนัก,ส่วนสูง,BMI,ความดันโลหิต,น้ำตาลในเลือดและรอบเอว เดือนละ 1 ครั้ง ( 4 เดือน) พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ
    จำนวน 70 คน ทราบ โดยเจ้าหน้าที่และคณะทำงานในชุมชน (กลุ่มเสี่ยง 60 คน คณะทำงาน 10 คน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ความเข้าใจ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
2.สามารถลำจำนวนผู้ป่วยรายใหม่การเกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วนลงพุง ในกลุ่มเสี่ยงลงได้


>