กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง

โรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของประเทศ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคได้ด้วยตนเองจากโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าสภาพปัญหาจากโรคไม่ติดต่อจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
ภาวะความดันโลหิตและเบาหวานเป็นทั้งโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดโรคหัวใจและภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆจากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ๓๕ ปีขึ้นไป ปี ๒๕๖๒ พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปี ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๑๓๔ คน และ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ทั้งหมด ๔๒ คน ป่วยทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทั้งหมด ๓๖ คน รวมผู้ป่วยทั้งหมด ๒๑๒ คน พร้อมมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก ๑๒ คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยงได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน อันนำไปสู่การมีสุขภาพดีของประชาชน และ ทำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ลดลงในปีนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดลง ๒.เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ๓.เกิดกลุ่มแกนนำเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการดูแลตนเองของ ผู้ป่วย/ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 240
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ
๑.ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุน     ๒.จัดอบรมแกนนำเร่งป้องกันโรคในหมู่บ้าน ได้แก่ อสม. ผู้นำศาสนา  ผู้นำชุมชน  สมาชิก อบต. ตัวแทนผู้ป่วย เป็นต้น     ๓.จัดตั้งเครือข่ายควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันสูงในระดับหมู่บ้าน     ๔.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมกิจกรรมการออกกำลังกายให้กับ เครือข่ายเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันสูงในระดับหมู่บ้าน     ๕.ตรวจคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง  ทุกหมู่บ้านๆละ 1 ครั้ง/ปี
    ๖.ดูแลและบริการผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย แบบ  one stop service     ๗.ออกติดตาม/เยี่ยมบ้านผู้ป่วย ทุกคนๆละ 1 ครั้ง /เดือน         ๘.สรุปและประเมินผลโครงการ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้งละ ๖๐ คน จำนวน ๔ ครั้ง
           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน ๒๔๐ คน x  ๒๕ บาท x ๒ มื้อ              เป็นเงิน  ๑๒,๐๐๐ บาท            - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๒๔๐ คน x  ๖๐ บาท  เป็นเงิน  ๑๔,๔๐๐ บาท     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๖,๔๐๐ บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ ลดลง
๒.ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
๓.มีเครือข่ายควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในระดับหมู่บ้าน


>