กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2 บ้านเกาะยวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

ภาคีเครือข่าย อสม.บ้านเกาะยวน หมู่ที่ ๒ตำบลเกาะนางคำ

1.นางสาวกฤติยาภรณ์สีมัสมิง
2.นางปราณีมีรุ่งเรือง
3. นายมณฑลเครือวัลย์
4.นางกราบเรียนนิลวรรณ์
5. นางสุนันทาทองบุญ

หมู่ที่ 2 บ้านเกาะนยวนตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) ยังให้ความสำคัญกับการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกอำลังกายนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนว่า “ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ ๕ อันดับแรก คือ โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, มะเร็งและหลอดเลือดในสมอง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสาธารณสุข”เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมบริโภค ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม และวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง ก็เป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เข่น การบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย โดยประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้
จากการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒(เดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑) จากกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรอง จำนวน ๔๘๒ พบกลุ่มเสี่ยง ๓๓๑ คน กลุ่มเสี่ยงสูง ๔๒ คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว จำนวน ๔๒ คน และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นและคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกๆปี ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยมากเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภค การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ กลุ่ม อสม.หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะยวน เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะยวน ตำบลเกาะนางคำอำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุงประจำปี ๒๕๖๒

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง ๓ เดือน/ครั้ง โดย อสม. ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ในการควบคุมป้องกันการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม เรื่องการปฏิบัติตนเองให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อจัดหาอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม.

มีเครื่องวัดความดันโลหิต ที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน จำนวน ๓ เครื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 147
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนให้ ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง ๑ ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนให้ ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง ๑ ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท จำนวน 149 คน เป็นเงิน 8,940 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 149 คน เป็นเงิน 7,450 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 1,200 บาท
    รวมเป็นเงิน  17,590 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17590.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นจำนวนเงิน 7,500 บาท รวมเป็นเงิน  7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,090.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.มีและใช้เครื่องวัดความดันโลหิตในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ จำนวน ๓ เครื่อง
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถติดตามภาวะสุขภาพของตนเองได้ และได้รับการตรวจคัดกรองด้านสุขภาพเบื้องต้น โดย อสม. ๓ เดือน/ครั้ง
๓.ประชาชนกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่สามารถไปรับบริการได้ที่ รพ.สต./รพ. ได้รับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิต โดย อสม.


>