กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาส่งเสริมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการรับสัมผัสสารตะกั่วของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนพื้นที่ หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาส่งเสริมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการรับสัมผัสสารตะกั่วของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนพื้นที่ หมู่ที่3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

หมู่ที่ 3 บ้านเกาะบูโหลน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารตะกั่วเป็นมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงสำหรับมนุษย์ โดยมีผลกระทบต่อทุกระบบของร่ายกาย หากได้รับปริมาณมากในวัยเด็กจะมีผลโดยตรงต่อระดับสติปัญญา สมองและระบบประสาทอย่างถาวรได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยที่มีอายุน้อยกว่า 6 ขวบ ซึ่งนับเป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตที่มีการพัฒนาของสมอง(ราชวิทยาลัยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย,2553) สารตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีผลกระทบต่อระบบประสาททั้งประสาทส่วนกลางและรอบส่วนกลาง เกิดภาวะซีด มีผลต่อท่อไต เกิดความดันโลหิตสูง ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติในเพศชายทำให้เชื้ออสุจิลดลง หญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับตะกั่วสะสมในร่างกายสูงจะส่งตะกั่วไปยังทารกและทางน้ำนมได้ โดยทั่วไปตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทางหลัก คือ ทางการหายใจและทางปาก สำหรับทางผิวหนังมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำงานในปั๊มน้ำมันหรือช่างซ่อมเครื่องยนต์ โดยทั่วไปมนุษย์สามารถรับสัมผัสสารตะกั่ว จาก 2 แหล่งใหญ่ที่สำคัญคือ จากการประกอบอาชีพ และจากสิ่งแวดล้อม(อรพันธ์ : วีระศักดิ์, 2557)เกาะบูโหลน เป็นหมู่เกาะที่อยู่ในกลางท้องทะเลอันดามันห่างจากฝั่งราว 22 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชาวเลมากกว่าร้อยละ 90 มีครัวเรือนราว 50 หลังคาเรือน รวมประชากรประมาณ 200 คน โดยพบว่า มีประชาชนประกอบอาชีพเสี่ยงต่อการรับสัมผัสตะกั่ว คือ ชาวประมงที่เป็นช่างตอกหมันเรือ อู่ต่อเรือและอาชีพมาดอวด จากรายงานวิจัยของคณะวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(2561) พบว่า ผลการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมและชีวภาพในพื้นที่เกาะบูโหลน พบปัญหาการปนเปื้อนตะกั่วในสิ่งแวดล้อม ในหลายแหล่ง โดยพบปริมาณการปนเปื้อนตะกั่วในพื้นที่บริเวณโรงเรียน(24.2 mg/kg)ในพื้นที่บ้านเรือน (8.95 mg/kg)พื้นที่จอดเรือและทำอวน(7.1 mg/kg)ขณะที่ผลการตรวจวัดปริมาณตะกั่วในแหล่งน้ำอุปโภค(บ่อน้ำ) พบปริมาณ 0.016 mg/L ซึ่งสอดคล้องกันมีการตรวจพบปริมาณตะกั่วในเล็บและมือของชาวประมงที่ซ่อมเรือ(0.25µg/cm2),ชาวประมงที่คลี่อวน(38.15 µg/cm2) และชาวประมงที่ทำอวน(1.32 µg/cm2) มีความเชื่อมโยงกับการตรวจทางชีวภาพซึ่งมีการตรวจพบปริมาณตะกั่วในเลือดของเด็กอายุ 1-3 ปี(6.04µg/dL) อายุ 3-5 ปี(5.69 µg/dL) ขณะเดียวกันได้มีการศึกษาพบปัญหาเด็กปฐมวัยมีภาวะ IQ ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งในทางวิชาการได้มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า การรับสัมผัสตะกั่วในวัยเด็กเล็ก มีความสัมพันธ์ต่อภาวะ IQ ต่ำ จากรายงานทางวิชาการข้อมูลที่ได้ศึกษาถึงผลกระทบของสารตะกั่วในเด็ก ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ใหญ่ ตะกั่วในเลือดมีความสัมพันธ์กับระดับ IQ อย่างชัดเจน มารดาที่มีระดับตะกั่วสูงสามารถส่งผ่านตะกั่วไปยังทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ปัจจัยส่งเสริมให้เด็กสามารถได้รับผลกระทบจากตะกั่วได้มากเนื่องจากเด็กดูดซึมตะกั่วจากทางเดินอาหารได้ดีกว่าผู้ใหญ่ คือร้อยละ 50% ในขณะที่ผู้ใหญ่ดูดซึมได้เพียงร้อยละ 10% ของปริมาณที่รับประทาน เด็กมีระบบประสาทที่กำลังพัฒนา การสัมผัสตะกั่วนี้ทำให้การพัฒนาผิดรูปไป ช่วงเวลาที่เด็กมีความอ่อนไหวต่อสารพิษที่กระทบต่อพัฒนาการนั้นเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ไปจนถึงช่วงเข้าสู่วัยรุ่น (Needleman et al., 1990; Bellinger, Stiles & Needleman, 1992;Rogan et al., 2001) ผลกระทบต่อพัฒนาการและระบบประสาทไม่สามารถแก้ไขได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ยาขับตะกั่วให้ระดับในเลือดกลับมาเป็นปกติ การสัมผัสต่อตะกั่วตั้งแต่อายุน้อยๆ มีผลต่อการแสดงออกด้านพันธุกรรม โดยเห็นจากการที่มีการปรับเปลี่ยนของ DNA ใน cordblood ของมารดาที่มีระดับตะกั่วสูง (Basha et al., 2005; Wu et al., 2008; Pilsner et al., 2009) จากสภาพปัญหาการปนเปื้อนตะกั่วจากการประกอบอาชีพลงสู่สิ่งแวดล้อมในสถานที่ต่างๆ จนนำไปสู่การรับสัมผัสสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายทั้งในกลุ่มบุคคลทำงานอาชีพที่เสี่ยงและประชาชนทั่วไป ได้แก่ ชาวประมงที่ประกอบอาชีพช่างตอกหมัน อู่ต่อเรือ อาชีพทำมาดอวน จากรายงานวิจัยการปนเปื้อนฝุ่นตะกั่วในบ้าน พบว่า บ้านช่างตอกหมันเรือมีระดับตะกั่วสูงกว่าบ้านควบคุม(บ้านที่ไม่ใช่บ้านช่างตอกหมันเรือ)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (จำนง และคณะ, 2552 : อรพันธ์ และคณะ,2554)สิ่งสำคัญคนทำงานยังมีโอกาสรับสัมผัสตะกั่วแล้วนำกลับไปปนเปื้อนแก่คนในครอบครัวได้อีก เช่น ภรรยา ลูกของผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงอีกด้วย รวมถึงเด็กเล็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการปนเปื้อนของปริมาณตะกั่วสะสมจำนวนมากก็มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสัมผัสตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้มาก สอดคล้องกับรายงานศึกษาของ อรพันธ์ อันติมานนท์ พบว่า คนงานที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับตะกั่ว จะมีโอกาสที่จะนำตะกั่วกลับไปปนเปื้อนยังที่พักอาศัย โดยการปะปนไปกับเสื้อผ้าหรือผิวหนังของคนงานได้(อรพันธ์ อันติมานนท์,2552) และยังพบเด็กกลุ่มเสี่ยงเป็นลูกหลานของช่างตอกหมันและซ่อมเรือไม้มีระดับตะกั่วในเลือดสูง(สำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯ,2556) นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยยืนยันพบว่า โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก ยังเป็นแหล่งปนเปื้อนของตะกั่วจากสีทาอาคาร สีจากเครื่องเล่นเด็ก แล้วนำไปสู่การรับสัมผัสสารตะกั่วเข้าสู่เด็กนักเรียนได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ที่เล่นกับเครื่องเล่นเด็กหรือมักมีพฤติกรรมเล่นกับพื้นส่งผลให้รับสัมผัสตะกั่วได้ง่าย(ราชวิทยาลัยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย,2553)ซึ่งจากสภาพความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่วทั้งหมดข้างต้น ยังคงพบประสบปัญหาอยู่ในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลนโดยยังขาดมาตรการป้องกัน ควบคุม ที่รัดกุมตามที่ควรจะเป็น ทั้งที่สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาการรับสัมผัสสารตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวซึ่งเป็นความเสี่ยงและภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งจะต้องอาศัยวิธีการ กระบวนการ หรือกิจกรรมต่างๆเพื่อช่วยยับยั้งหรือลดการสัมผัสสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายให้ได้มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดของชุมชนพื้นที่เกาะที่ค่อนข้างอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่ง ดังนั้น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาส่งเสริมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการรับสัมผัสสารตะกั่วในชุมชนของพื้นที่เกาะบูโหลน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมความตระหนักแก่ อสม. แกนนำชุมชน ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้อง สามารถป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสสารตะกั่วจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมจากแหล่งต่างๆ สิ่งสำคัญจำเป็นต้องเน้นวิธีป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุโดยการกำหนดมาตรการหรือวิธีการในการลดปริมาณสารตะกั่วที่จะปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดทำสถานการณ์สภาพความเสี่ยงและพัฒนาระบบเฝ้าระวังของการรับสัมผัสตะกั่วจากสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

ได้สถานการณ์สภาพความเสี่ยงและรูปแบบของการเฝ้าระวังการรับสัมผัสตะกั่วในกลุ่มคนทำงานอาชีพเสี่ยง รวมทั้งประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลน

0.00 0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสม.และแกนนำชุมชนในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันการรับสัมผัสตะกั่วไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกาะบูโหลน

ร้อยละ 70 ของ แกนนำชุมชน อสม. ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ เกิดความตระหนักและสามารถร่วมมือกันในการประเมินความเสี่ยง ตรวจคัดกรองสุขภาพตามความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่ว ได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/12/2019

กำหนดเสร็จ 15/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างความรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพิษภัยตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงของชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเสริมสร้างความรู้ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพิษภัยตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงของชุมชนพื้นที่เกาะบูโหลนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 100 บ. x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง = 4,200บาท ค่าวิทยากร 600 x 8 ชม.= 4,800 บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม./แกนนำชุมชน ในการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่วในชุมชนฯ โดยประยุกต์ใช้แผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน(Popular epidemiology)

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อสม./แกนนำชุมชน ในการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงของการรับสัมผัสตะกั่วในชุมชนฯ โดยประยุกต์ใช้แผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน(Popular epidemiology)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 คน x 8 ชม. =9,600 บาท ค่าอาหารกลางวัน 100 บ.x 30 คน x 1 มื้อ x 2 แห่ง = 6,000บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ.x 30 คน x 2 มื้อ x 2 แห่ง= 4,200บาท ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บาท ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 4 คน x 2 คืน = 6,400 บาท รวม30,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24200.00

กิจกรรมที่ 3 อสม./แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ดำเนินการ implement เชิงรุกในการประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพจากการรับสัมผัสตะกั่วฯ

ชื่อกิจกรรม
อสม./แกนนำชุมชน ร่วมกับ วิทยลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ดำเนินการ implement เชิงรุกในการประเมินความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพจากการรับสัมผัสตะกั่วฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเบี้ยเลี้ยง 240 บ.x 6 คน x 3 วัน=4,320 บ. ค่าพาหนะเรือเหมา = 4,000บ. ค่าที่พักเหมาจ่าย800 บ. x 6 คน x 2 คืน = 9,600 บ. รวม17,920 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองของการรับสัมผัสสารตะกั่วจากสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อม
2 อสม. แกนนำชุมชน มีแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการรับสัมผัสตะกั่วในประชาชนกลุ่มเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม


>