กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะ เพื่อโรงเรียนน่าอยู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแว้ง

โรงเรียนบ้านแว้ง

1. นางพิศมัย ภู่จินดานนท์
2. นางสาวปรียมน ภักดีรุจีรัตน์
3. นายนิอามาน เลาะนะ

โรงเรียนบ้านแว้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนไม่มีความรู้ในการคัดแยกขยะ และปริมาณถังขยะมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

 

50.00

การดำเนินงานเพื่อจัดการขยะมูลฝอยที่ผ่านมา ท้องถิ่นส่วนใหญ่สามารถให้บริการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย ได้มากขึ้น ทำให้ปัญหาขยะตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มากตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มาก แม้จะมีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างระบบกำจัดที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และยังมีท้องถิ่นหลายแห่งที่มีระบบแล้วก็ไม่สามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้ถูกสุขลักษณะตามที่ได้ออกแบบไว้ได้ และบางแห่งได้รับการต่อต้านคัดค้านจากประชาชนจนไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้
ทั้งนี้เนื่องจากการทำโครงการที่ผ่านมามักไม่ได้คำนึงถึงการเตรียมพร้อมที่จะดำเนินงานดูแลรักษาระบบอย่างต่อเนื่องทำให้มีข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและองค์กรบริหารจัดการที่ชัดเจน นอกจากนี้การดำเนินงานที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มีลักษณะต่างคนต่างทำ ทำให้มีสถานที่กำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะขนาดต่าง ๆ กันกระจายทั่วไป ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ มีผลทำให้การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมีจำกัดและไม่ต่อเนื่องซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการขยะมูลฝอย

สืบเนื่องจากปัจจุบัน ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับข้อจำกัดด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและงบประมาณที่เกี่ยวข้องในการจัดการสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญกับแนวทางการบริหารจัดการมลพิษรูปแบบใหม่ที่เน้นการส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ (Resource Conservation and Recovery) โดยมีสาระสำคัญ คือ “การป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่ง ทรัพยากรธรรมชาติโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อให้เกิดสมดุลและ เป็นรากฐานในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน” ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับนโยบาย จำเป็นต้องมีการประยุกต์หลักการด้าน 3R (Reduce Reuse Recycle: 3R) เข้ากับระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยการควบคุมปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด และการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นก่อนที่จะนำไปกำจัดขั้นสุดท้าย อย่างถูกหลักวิชาการต่อไป กรมควบคุมมลพิษ จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse Recycle: 3R) สำหรับให้หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ในประเทศ เป็นไปอย่างมีระบบ ครบวงจรและสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแนวใหม่แบบครบวงจรนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธีแล้วจะสามารถสร้างประโยชน์ได้ และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิต เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรและเงินงบประมาณแผ่นดินได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณขยะก็จะจำนวนลงได้มาก ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ต่อนักเรียน และต่อชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง 2. เพื่อให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี 3. เพื่อให้นักเรียนรับรู้ และตระหนักถึงปัญหาเรื่องผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อม
  1. นักเรียนมีจิตสำนึกและให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
  2. นักเรียนมีความรู้เรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
  3. นักเรียนรับรู้ และตระหนักถึงปัญหาเรื่องผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 160
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
คัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนเพื่อจัดทำโครงการ
  2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. แต่งตั้งคณะทำงาน และแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ
  4. ดำเนินการตามกิจกรรม
  5. ติดตาม และประเมินผล 8.สรุปและรายงานผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ร้อยละ 80 คัดแยกขยะก่อนทิ้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้วิธีการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้วิธีการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนเพื่อจัดทำโครงการ
  2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. แต่งตั้งคณะทำงาน และแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ
  4. ดำเนินการตามกิจกรรม
  5. ติดตาม และประเมินผล 8.สรุปและรายงานผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ปริมาณขยะลดลง โรงเรียนสะอาดถูกสุขลักษณะสร้างนิสัยที่ดี แก่นักเรียน ครูและบุคลากร
2.ลดการเกิดโรคทางเดินหายใจ ทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น


>