กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดภัยห่างไกลโรคติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลน้ำน้อย

โรงเรียนวัดศีรษะคีรี

โรงเรียนวัดศีรษะคีรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนวัดศีรษะคีรีเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัจจุบันทำการเรียน การสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีนักเรียนทั้งหมด 58 คนมีข้าราชการครู4 คน ไม่มีนักการภารโรง สภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนยังต้องมีการปรับปรุงอีกมาก ไม่ว่าส่วนของอาคารเรียนและอาคารประกอบอยู่ในสภาพทรุดโทรม ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และไม่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนและสภาพโดยรอบของอาคารเรียนก็มีสภาพรก ต้นไม้ขึ้นไม่เป็นระเบียบ และมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งไม่ปลอดภัยกับนักเรียน โดยเฉพาะบริเวณโรงอาหาร มีทั้งขยะซึ่งทับถมกันมานานและไม่ได้กำจัดให้ถูกวิธี จะส่งกลิ่นเหม็นในบางครั้ง เมื่อฝนตกจะมีน้ำขัง มีสัตว์ที่เป็นพาหะของโรงต่างๆ เช่น หนูแมลงสาบตะขาบ งู และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างดี ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาจจะเป็นพาหะทำให้นักเรียนมีโอกาสเป็นโรคต่างๆได้ เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคท้องร่วงเป็นต้น
ดังนั้นเพื่อให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมสวยงามสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย และนักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตทีดี ไม่เป็นโรคต่างๆ ร่างกายแข็งแรง โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการการ การจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดภัยห่างไกลโรคติดต่อ โดยเป็นการนำขยะจากการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน การนำเศษอาหารจากการปรุงอาหารกลางวันของนักเรียน เศษใบไม้จากการทำความสะอาดในบริเวณโรงเรียน นำมาคัดแยกให้ถูกประเภทและนำขยะจากการคัดแยกทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และใช้เพื่อการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาแล้ว
จากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพพบว่าขยะในโรงเรียนเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อมในโรงเรียนซึ่งส่งผลต่อสุขภาพนักเรียนดังนั้นเพื่อเป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นโรงเรียนวัดศีรษะคีรีจึงร่วมกับเทศบาลตำบลน้ำน้อยจัดทำโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดภัยห่างไกลโรคติดต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อสุขภาพที่ดี

นักเรียนร้อยละมีความรู้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวปลอกสารพิษโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ

1.นักเรียนร้อยละ 80  มีความรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 2.นักเรียนร้อยละ 80 ปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษได้

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รับรู้และตระหนักถึงปัญหาของผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดี

1.นักเรียนร้อยละ 80  บอกแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 68
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/06/2019

กำหนดเสร็จ 25/06/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีปลอดภัย 1.1 กิจกรรมย่อยการให้ความรู้ อบรมให้ความรู้กับนักเรียนและบุคลการในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดภัยห่างไกลโรคติดต่อ จำนวนนักเรียน 58 คน จำนวนบุคลากรในโรงเรียน 10 คน รวมผู้เข้าอบรม 68 คน

ชื่อกิจกรรม
1.การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีปลอดภัย 1.1 กิจกรรมย่อยการให้ความรู้ อบรมให้ความรู้กับนักเรียนและบุคลการในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมปลอดภัยห่างไกลโรคติดต่อ จำนวนนักเรียน 58 คน จำนวนบุคลากรในโรงเรียน 10 คน รวมผู้เข้าอบรม 68 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรรายบุคคล  ชม.ละ 500 บาท × 3 ชม.เป็นเงิน1,500 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ 25บาท × 68 คน เป็นเงิน 1,700 บาท 3.ค่าวัสดุอบรม 4,230 บาท         วัสดุอบรม    - แฟ้ม  ปากกา  58  ชุด × 40 บาท เป็นเงิน 2,320 บาท    -ไวนิล(ขนาด3 เมตร ×  1.5 เมตร)  3  แผ่น × 600 บาท เป็นเงิน  1,800 บาท    - กระดาษ 1 รีม  × 110 บาท เป็นเงิน 110  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7430.00

กิจกรรมที่ 2 1.2กิจกรรมย่อยเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
1.2กิจกรรมย่อยเชิงปฏิบัติการการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรรายกลุ่ม 2 คน  ชม.ละ 500 บาท × 3 ชม.เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ 25บาท × 68 คน เป็นเงิน 1,700 บาท 3.ค่าครุภัณฑ์   3,000 บาท    - ถังคัดแยกขยะ  1  ใบ  ×  500 บาท เป็นเงิน  500 บาท    - ตะแกรงขยะพักขยะ 1 ใบ เป็นเงิน 1,000 บาท    - ไม้เสียบขยะ 10 อัน × 100 บาท     เป็นเงิน 1,000 บาท    - ถัง200 ลิตร 2 ถัง × 250 บาท   เป็นเงิน 500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

กิจกรรมที่ 3 2.การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตเอง 2.1กิจกรรมย่อยบรมให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพผลิตเอง จำนวนนักเรียน 58 คน จำนวนบุคลากรในโรงเรียน 10 คน รวมผู้เข้าอบรม 68 คน

ชื่อกิจกรรม
2.การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตเอง 2.1กิจกรรมย่อยบรมให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพผลิตเอง จำนวนนักเรียน 58 คน จำนวนบุคลากรในโรงเรียน 10 คน รวมผู้เข้าอบรม 68 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรรายบุคคล  ชม.ละ 500 บาท × 3 ชม.เป็นเงิน1,500บาท 2.ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ 25บาท × 68 คน เป็นเงิน 1,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3200.00

กิจกรรมที่ 4 2.2กิจกรรมย่อยเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จำนวนนักเรียน 58 คน จำนวนบุคลากรในโรงเรียน 10 คน รวมผู้เข้าอบรม 68 คน

ชื่อกิจกรรม
2.2กิจกรรมย่อยเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จำนวนนักเรียน 58 คน จำนวนบุคลากรในโรงเรียน 10 คน รวมผู้เข้าอบรม 68 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรรายกลุ่ม 2 คน  ชม.ละ 500 บาท × 3 ชม.เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ 25บาท × 68 คน เป็นเงิน 1,700 บาท 3.ค่าวัสดุภาคปฏิบัติ 3,000 บาท    - ขี้วัว + ขี้ไก้ 10 กระสอบ × 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท    - กากน้ำตาล 35 กิโลกรัม  × 11 บาท + แกลลอน 50 บาท  เป็นเงิน 435  บาท    - หัวเชื้อ EM  จำนวน 6 ลิตร × 90 บาท เป็นเงิน 540 บาท     -ถังหมัก 4 ใบ ใบละ 300 บาท   เป็นเงิน 1,200 บาท     -บัวรดน้ำ  5 ใบ ใบละ  65บาท  เป็นเงิน    325  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ เพื่อสุขภาพที่ดี
ให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชผักสวนครัวปลอกสารพิษโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ
ให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนรับรู้และตระหนักถึงปัญหาของผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดี


>