กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ยิ้มสดใส เด็กท่าบอนฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ กับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย หากสุขภาพช่องปากและฟันดี ก็ย่อมส่งผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามมา ซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นอีกปัญหาที่สำคัญที่ควรได้การส่งเสริม ป้องกันมากกว่าจะเน้นทางด้านการรักษาและฟื้นฟู ซึ่งใช้งบประมาณในการรักษาที่มากกว่า และปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนก็ต้องยิ่งดำเนินการ เนื่องจากเด็กนักเรียนมีฟันแท้ข้นมาในช่องปากผสมกับฟันน้ำนมถ้าหากมีอาการปวดฟันผู้ปกครองอาจไม่ทราบว่าเป็นฟันแท้หรือฟันน้ำนม แต่อย่างไรก็ตามหากนักเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปาก ก็จะส่งผลต่อร่างกาย และพัฒนาการด้านการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และรำคาญ ไม่เหมาะที่จะเรียนรู้หรือเรียนไม่รู้เรื่อง
ผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากในระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่าสถานการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ของเด็กประถมศึกษา เป็นร้อยละ 52.3 ค่าเฉลี่ย ฟันผุถอน อุด (DMFT) มีแนวโน้มลดลงเป็น 1.3 ซี่ต่อคน จากเดิมที่คงที่มาตลอดที่ 1.5 ซี่ต่อคน ซึ่งความชุกของโรคมีปริมาณลดลงอย่างชัดเจนในเขตเมือง และเมื่อนํามาเปรียบเทียบกับผลการสํารวจครั้งที่ผ่านๆมาจะพบว่าสภาวะโรคฟันผุลดลงเล็กน้อย ส่วนสภาวะเหงือกอักเสบนั้นยังคงเป็นปัญหาแม้ว่าจะพบสภาวะเหงือกอักเสบลดลงจากร้อยละ 58.9 ในปี2550 เป็นร้อยละ 50.3 แต่เกือบครึ่งหนึ่ง(20.7)จะมีสภาวะเหงือกอักเสบโดยมีหินน้ำลายร่วมด้วย เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปาก ให้มีฟันแท้ไว้ใช้งานตลอดมีกิจกรรมต่างๆ ในการดูแลให้เด็กได้แปรงฟันให้สะอาดในเวลาที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมและปรับพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารที่เป็นอันตรายต่อทันตสุขภาพสำหรับนักเรียนที่ฟันแท้ผุไปแล้วและสามารถรักษาด้วยการอุดฟันได้ บุคลากรทางทันตกรรมจะมีการลงพื้นที่หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ให้บริการในโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรการตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม(อุดฟันแท้ , ขูดหินน้ำลาย)การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการติดตามประเมินผลเพื่อให้การรักษารวมทั้งการป้องกันฟันแท้ผุโดยการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึกที่โรงเรียน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการ ยิ้มสดใส เด็กท่าบอนฟันดี ให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการสมวัยด้านทันตสุขภาพ คือ ลดภาวะสูญเสียฟันแท้ก่อนวัย และมีฟันแท้ ไว้ใช้งานได้นานที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนชั้นอ.1 - ป.6 ได้มีความรู้ด้านทันตสุขภาพและแปรงฟันอย่างถูกวิธี

1.นักเรียนมีความรู้ด้านทันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก แก่เด็กนักเรียนชั้นอ.1-ป.6

2.นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

0.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนได้รับบริการทันตกรรม (เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก/อุดฟันแท้/ถอนฟัน) ในโรงเรียน และ สถานบริการ

3.1 นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟันได้รับการรักษาและส่งต่อร้อยละ  100 3.2 นักเรียนชั้นป.1 ได้รับการป้องกันฟันแท้ซี่แรกผุ (เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก) ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 420
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 31/10/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมความรู้ด้านทันตสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมความรู้ด้านทันตสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพและแปรงฟันอย่างถูกวิธี สุ่มประเมินการแปรงฟันหลังอาหาร  โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ด้านทันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากไม่น้อยกว่าร้อยละ  80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
420.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมให้บริการทันตกรรมนักเรียนในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้บริการทันตกรรมนักเรียนในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการทันตกรรม(เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก/อุดฟันแท้/ถอนฟัน) ในโรงเรียน และ สถานบริการฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.สต.ท่าบอน โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขและผู้ช่วยทันตแพทย์จากโรงพยาบาลระโนด ติดตามผลการแปรงฟัน และคืนข้อมูลสรุปผลสภาวะสุขภาพช่องปาก ประจำปีการศึกษา 256๒

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟันได้รับการรักษาและส่งต่อร้อยละ  100 นักเรียนชั้นป.1 ได้รับการป้องกันฟันแท้ซี่แรกผุ (เคลือบหลุมร่องฟันแท้ลึก) ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,540.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายในรายการข้างต้นสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อให้เด็กนักเรียนมีพัฒนาการสมวัยด้านทันตสุขภาพ คือ ลดภาวะสูญเสียฟันแท้ก่อนวัยและมีฟันแท้ไว้ใช้งานได้นานที่สุด


>