กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขยับกาย สบายชีวี เพื่อสุขภาพที่ดี ด้วยโยคะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพะตง

ชมรมคนรักษ์สุขภาพ เทศบาลตำบลพะตง

1.นางกษิณา ศรประสิทธิ์
2.นางทรัพย์อินทะวงษ์
3.นางเตือนใจเพ็ชรเสน
4.นางสมคิด ศรีทวี
5.นางดาเรศโพธิ์ทอง

อาคารแพทย์แผนไทยเทศบาลตำบลพะตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

60.00

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งแก้ไขปัญหาการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยจาก ๕ โรคสำคัญที่เรียกว่า โรคไม่ติดต่อซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกได้แก่โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองและโรคมะเร็งแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบประกันสุขภาพที่ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลกก็ตามแต่ที่ผ่านมาจะรองรับการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเป็นส่วนใหญ่จากสถิติในปี ๒๕๕๓ ทั้ง ๕ โรคมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ๒ ล้านกว่ารายเสียชีวิตรวม ๑ แสนกว่าราย หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุทั่ว ประเทศที่มีประมาณ ๔ แสนราย สาเหตุการป่วยเกี่ยวข้องกับ ๒ ปัจจัย คือการขาดการออกกำลังกาย และเรื่องการ บริโภคอาหารดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะเน้นหนักให้ทุกจังหวัดเร่งแก้ไขและป้องกันการเจ็บป่วย ด้วย ๒กิจกรรมหลัก สอดรับกับการบริหารหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงประการ แรกคือการกระตุ้นให้คนไทยออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในคนไทยอายุ ตั้งแต่ ๑๑ ปี ขึ้นไปที่มี ๕๗.๗ ล้านคน ในปี ๒๕๕๔ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบประชาชน ๔๒.๖ ล้านคนไม่ออกกำลังกาย มีผู้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายเพียง ๑๕.๑ ล้านคน หรือประมาณ ๑ ใน ๔ ของประชาชนทั้งหมด และ รอบ ๑ เดือนก่อนสำรวจ จำนวน ๑๗.๑ ล้านคนเป็นผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากถึงร้อยละ ๗๓ ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มี ๓.๒ ล้านคน พบว่าเป็นผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากถึงร้อยละ ๗๖ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างชัดเจนว่า การไม่ออกกำลังกายทำให้มีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ออกำลังกายถึง ๓เท่า กรมอนามัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนตามนโยบายและแนวทางการ ดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวข้างต้นและส่งเสริมให้กลุ่มวัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มี เวลาว่าง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายในวัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอไปจากการทำงาน และขณะปฏิบัติงานจะต้องออกแรงซ้ำๆ กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ ทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณที่ใช้งาน กล้ามเนื้อจะล้าและลดประสิทธิภาพลงเรื่อย ๆ และถ้าเกิน ๓ ชั่วโมงติดต่อกัน ข้อต่อ กระดูกและเส้นเอ็นจะเกิดการยึดติดส่งผลให้มีแคลเซียมยึดเกาะในข้อต่อ ดังนั้น หากอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ เช่น บริเวณขมับ คอ ไหล่ หลัง ศอก ข้อมือ ข้อนิ้ว สะโพก เอว น่อง ข้อเท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงการออกกำลังกายสำหรับวัยทำงานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมตามเวลาและสถานที่ อาทิ การฝึกกายบริหารแบบง่ายๆ เช่น การยก แขนขึ้นลงการบิดลำตัวโยคะเป็นต้นซึ่งในปัจจุบันโยคะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางโยคะ คือ ศาสตร์ในการดูแลจิตให้ปกติในร่างกายที่สมบูรณ์ ปัจจุบันมีการนำโยคะไปบำบัดบรรเทาโรคโยคะบำบัดได้ขยายขอบเขตไปยังการป้องกันการสร้างเสริมการรักษาและการฟื้นฟู ซึ่งพบว่าโยคะมี ประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโรคเรื้อรังบางโรคดังนั้นชมรมคนรักษ์สุขภาพได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการออกกำลังกายด้วยโยคะจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โยคะเพื่อสุขภาพ เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อการมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ก่อให้เกิดความแข็งแรงมุ่งมั่นอดทนและความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานรวมถึงการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการฝึกโยคะอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นต้นแบบและขยายให้เกิดการฝึกโยคะอย่างแพร่หลายอันก่อประโยชน์กับบุคคลทั่วไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติโยคะได้

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารปฏิบัติโยคะได้ร้อยละ80

60.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นและความแข็งแรงเพิ่มขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีสมรรถภาพทางกายด้านความยืดหยุ่นและความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมคนรักษ์สุขภาพ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการกำหนดรูปแบบโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการชมรมคนรักษ์สุขภาพ เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการกำหนดรูปแบบโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมคณะกรรมการชมรมคนรักษ์สุขภาพเพื่อ ชี้แจง กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ 2.เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลพะตง 3.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วยโยคะที่ถูกวิธี
4.จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดอบรม 5.ดำเนินการตามโครงการขยับกาย สบายชีวี  ด้วยโยคะ    5.1 บรรยายความรู้  จำนวน  1  วัน       - บรรยายความรู้เรื่อง  ทฤษฎีโยคะ  ร่างกายและอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการฝึกโยคะ 1.5 ชม.       - บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง  โยคะปราณยามะ  1.5 ชม.       - บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง  โยคะอาสนะ  14  ท่าพื้นฐาน และการปรับวิธีดูแลสุขภาพแบบโยคะ  1.5 ชม.       - บรรยายและฝึกปฏิบัติเรื่อง  โยคะเพื่อบำบัดโรค  1.5 ชม.    5.2  ฝึกปฏิบัติโยคะ จำนวน  30  ครั้ง  ครั้งละ 1 ชม. ในวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี
   5.3  ประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยความแข็งแรงและความยืดหยุ่น   6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63996.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,996.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาเกี่ยวกับการบริหารกายแบบโยคะได้และดูแลตนองได้อย่างถูกวิธี
2.มีความรู้ความเข้าใจสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้ประชาชนมีความใส่ใจต่อสุขภาพ
3.มีสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น
4.มีคุณภาพชีวิตทั้งกายจิตจิตวิญญาณและสังคมที่ดีขึ้นสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข


>