กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย ในโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย ในโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้านเป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน และในปัจจุบัน จากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐาน อาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าวได้
ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้พัฒนาศักยภาพของเครือข่าย ได้แก่ นักเรียนอย.น้อยในโรงเรียนมาใช้ เพื่อช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนและให้กลุ่มนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยัง ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมกันสอดส่องดูแลและประชาสัมพันธ์ในชุมชน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย ในโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ ปี ๒๕๖๒ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายสุขภาพ อย.น้อย ในโรงเรียน

 

0.00
2 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านชำในเขตรับผิดชอบ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/08/2019

กำหนดเสร็จ 16/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมสร้างเสริมเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน และลงตรวจร้านชำในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมสร้างเสริมเครือข่าย อย.น้อยในโรงเรียน และลงตรวจร้านชำในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดอบรมเครือข่ายสุขภาพ นักเรียน อย.น้อย  จำนวน  1 วัน ในวันที่ 16  สิงหาคม  2562   1.1 ค่าอาหารกลางวันสำหรับวิทยากรและผู้จัดการอบรม จำนวน 6 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 360 บาท   1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอบรมและวิทยากรและผู้จัดการอบรม   จำนวน 35 คน    คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท   เป็นเงิน 1,750  บาท   1.3 ค่าสมนาคุณวิทยากรในอบรมเครือข่ายสุขภาพ นักเรียน อย.น้อย  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ 600 เป็นเงิน 3,600  บาท 2. ค่าชุดตรวจเครื่องสำอาง 3 ชนิด จำนวน 2 ชุด ชุดละ 3,000 บาท          เป็นเงิน 6,000  บาท 3. ชุดทดสอบสารบอแรกซ์และสารเคมี (ผงกรอบ) จำนวน 4 ชุดๆ 250 บาท              เป็นเงิน 1,000  บาท 4.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 X 1 เมตร หมู่บ้านละ 1 จำนวน 5 แผ่น ป้ายละ 200 บาท
                                                                                                           เป็นเงิน 1,000  บาท 5.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 2X 3 เมตร ตารางเมตรละ 200 บาท           เป็นเงิน 1,200  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

,,

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14910.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,910.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีเครือข่ายสุขภาพ นักเรียน อย.น้อย
2.ร้านชำในเขตรับผิดชอบจำหน่ายเครื่องสำอาง และยาถูกต้อง


>