กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ลดพุง ลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

3.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

3.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

3.00

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก ๓อ.๒ส. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อ ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น
ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผัก ผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิตยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้ที่มีคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงผู้มีอายุเกิน 35 ปี ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะเครียดสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases)เป็นกลุ่มโรคที่เกิดกับระบบหัวใจและ หลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกรวมถึงประเทศไทยในปัจจุบัน โดยสามในสี่ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งหมดเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด (ischaemic heart diseases) และโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular diseases) ซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตันหรือขาดความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมัน โปรตีนและแร่ธาตุ ที่บริเวณผนังหลอดเลือด สาเหตุการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ และภาวะอ้วน
การรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายเบาหวาน ความดันหรือกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ลดโรค ลดพุง ขึ้นเพื่อปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้น เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก้ปัญหาการเกิดโรคเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ลดภาระและการสูญเสียในทุกมิติ ทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ เพื่อปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

3.00 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

3.00 80.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

3.00 80.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความเชื่อในความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น

 

0.00
5 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม ในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลัง กาย การจัดการความเครียดด้วยตนเอง ดูแลและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

 

0.00
6 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น หลังจากเข้าร่วมโครงการ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว และความดันโลหิตสูง

 

0.00
7 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตมีความรู้และพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ในเรื่อง 3 อ.2 ส.และไม่เกิดเป็นกลุ่มป่วย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/08/2019

กำหนดเสร็จ 23/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลและความดันไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  6  ชั่วโมงๆ ละ   600  บาท เป็นเงิน  3,600  บาท               2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  60  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่  6  คน
                     รวม  66  คน ๆ ละ 2  มื้อๆละ 25  บาท รวมคนละ  50  บาท รวมเป็นเงิน  3,300 บาท               3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  60  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่  6  คน รวม
                     66  คน ๆ ละ  1  มื้อๆละ 60  บาท   รวมเป็นเงิน   3,960   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10860.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ แก่ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 60 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ แก่ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน  6  ชั่วโมงๆ ละ   600  บาท เป็นเงิน  3,600  บาท               2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  60  คน  วิทยากรและเจ้าหน้าที่  6  คน
                    รวม  66  คน ๆ ละ 2  มื้อๆละ 25  บาท รวมคนละ  50  บาท  รวมเป็นเงิน  3,300 บาท               3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน  60  คน วิทยากรและเจ้าหน้าที่  6  คน รวม
                     66  คน ๆ ละ  1  มื้อๆละ 60  บาท  รวมเป็นเงิน   3,960   บาท               4. ค่าชุดโมเดลตัวอย่างอาหาร จำนวน  1 ชุดๆละ  10,000  บาท  เป็นเงิน  10,000  บาท               5. ค่าตู้โชว์ใส่โมเดลตัวอย่างอาหาร  จำนวน  1 ตู้ๆละ  10,000  บาท  เป็นเงิน  10,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30860.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
๒. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการ
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ


>