กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการแพทย์แผนไทยและการประยุกต์ใช้ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ชุมชนจารูพัฒนา เทศบาลนครยะลา

ชุมชนจารูพัฒนา เทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ โดยเฉพาะแนวคิดการดูแลสุขภาพตนเองด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี ควรคำนึงถึงการปรับวิถีชีวิตในพฤติกรรมต่าง ๆ ตามแบบแผนการใช้ชีวิตประจำวัน อันจะส่งผลต่อการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย และทำให้มีสุขภาพดี พฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่การออกกำลังกาย การพักผ่อน การรับประทานอาหาร และการทำงาน รวมถึงการดูแลสุขภาพของตนเองเมื่อเจ็บป่วย ถ้าประชาชนสามารถส่งเสริมให้มีการดูแลรักษาตนเอง โดยใช้ยาสมุนไพรหรือการนวดไทย จะสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง สร้างสมดุลการไหลเวียนของร่างกาย ป้องกันโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังได้ ที่สำคัญถ้าสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ก็ยิ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและประหยัดค่าใช้จ่ายในการให้บริการของสถานบริการ ยังเป็นผลดีและจะทำให้ประหยัดรายจ่ายและเป็นการพึ่งตนเองได้ด้วย
จากข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนในชุมชนจารูพัฒนา พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี คิดเป็น 26.75%ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 45.58%อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ 50-59 ปี คิดเป็น 9.65% ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 15.35%อัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร (Cardiovascular disease) ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี คิดเป็น 0.44% ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 2.33%
ชุมชนจารูพัฒนาเทศบาลนครยะลา เล็งเห็นความสำคัญของการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ป้องกันโรคและลดอัตราโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนคือ องค์ความรู้ท้องถิ่น หากสามารถฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในมิติการดูแลตัวเอง และการเยียวยารักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ชุมชนก็จะเข้มแข็ง โดยสิ่งสำคัญคือ การจัดการความรู้และการจัดการระบบทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถของประชาชน ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะการประยุกต์ใช้สมุนไพร การนวดแผนไทย และการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้สมุนไพร การนวดแผนไทย และการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง (เชิงคุณภาพ)
0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อการมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน
  1. ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการประยุกต์ใช้สมุนไพรในชุมชน จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการประยุกต์ใช้สมุนไพรในชุมชน จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อ    มื้อละ 30.-บาท
                                          เป็นเงิน      1,800.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ    80.-บาท/มื้อ
                                          เป็นเงิน      2,400.-บาท
  3. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  ขนาด 1x3 เมตร เมตรละ 300.-บาท  จำนวน 1 ผืน
                                          เป็นเงิน    900.-บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร
       4.1 วิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท                               เป็นเงิน     1,800.-บาท    4.2 วิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                            เป็นเงิน    3,600.-บาท
  5. ค่าวัสดุ อุปกรณ์การฝึกปฏิบัติทำลูกประคบ    (ผ้าขาวบาง ไพล ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด ใบมะขาม เกลือ
       พิมเสน) และน้ำมันไพล                              เป็นเงิน     2,000.-บาท
  6. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                        เป็นเงิน        500.-บาท รวมเป็นเงิน  13,000.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นสามพันบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการนวดเท้า จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการนวดเท้า จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อ    มื้อละ 30.-บาท
                                         เป็นเงิน       1,800.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ    80.-บาท
                                         เป็นเงิน       2,400.-บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร
       3.1. วิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ
             600.-บาท                 เป็นเงิน      1,800.-บาท    3.2 วิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 2 กลุ่มๆ ละ 1 คน ๆ ละ         3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                          เป็นเงิน      3,600.-บาท
  4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์การฝึกปฏิบัติการนวดเท้า
       4.1 ผ้าขนหนู จำนวน 30 ผืนๆ ละ 40.-บาท
                                          เป็นเงิน      1,200.-บาท    4.2 ไม้กดจุด จำนวน 30 อันๆ 30.-บาท
                                          เป็นเงิน         900.-บาท    4.3 โลชั่นทาผิว จำนวน 30 ขวดๆ ละ 30.-บาท                                       เป็นเงิน         900.-บาท                                รวมเป็นเงิน     3,000.-บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                       เป็นเงิน         500.-บาท รวมเป็นเงิน  13,100.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นสามพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการออกกำลังกาย จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแพทย์แผนไทยและการออกกำลังกาย จำนวน 1 วัน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 2 มื้อ
        มื้อละ 30.-บาท
                                         เป็นเงิน       1,800.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ     80.-บาท
                                         เป็นเงิน       2,400.-บาท 3.  ค่าสมนาคุณวิทยากร
        3.1 วิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ          600.-บาท                เป็นเงิน       1,800.-บาท     3.2 วิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 2 กลุ่มๆ ละ 1 คนๆ ละ
             3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท จำนวน 2 คน                                      เป็นเงิน       3,600.-บาท
  3. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์                                      เป็นเงิน          500.-บาท

รวมเป็นเงิน  10,100.-บาท (เงินหนึ่งหมื่นหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรม ได้นำความรู้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลสุขภาพตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้
2. ส่งเสริมภูมิปัญญาการใช้สมุน การนวดแผนไทย และการออกกำลังกาย ให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ลดปริมาณการใช้ยารักษาโดยไม่จำเป็น
3. ผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว จากการเอาใจใส่ดูแลต่อกันและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>