กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจส่งเสริมสุขภาพสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรค ด้วย 3อ. 2ส. ประจำปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10

1.นายเนือง จันทรจิตรจริงใจ
2.นายอภัย ดิษสระ
3.นายจิตต์ จันทภาโส
4.นางเพลินพิศ ชูหนู
5.นางพิชญ์ลักษณ์ จันทรจิตรจริงใจ

หมู่ที่ 10 บ้านบ่อต้นแซะ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน โดยผลการสำรวจร้อยละ 30.5 มีน้ำหนักเกินที่ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป และผู้ที่ถือว่าอ้วนลงพุงมีอยู่ร้อยละ 7.5 ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนนี้มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงทั้งระดับไขมันในเลือดสูง หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคความดันเบาหวาน เป็นต้น การดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องพัฒนาประชาชนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นและพัฒนาพฤติกรรมสุุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุุมชน โดยการส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยยึดหลัก 3อ.2ส.
ดังนั้นชมรมอสม.หมู่ที่ 10 บ้านบ่อต้นแซะ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจส่งเสริมลดเสี่ยง ลดโรค ด้วย 3อ. 2ส. ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ทำให้มีสุขภาพที่ดีตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3อ. 2ส. อย่างถูกต้อง เหมาะสม

ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส. เพิ่มมากขึ้น

0.00
2 2.เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค

ประชาชนที่ได้รับการอบรมมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหันมาออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,900 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส.
2.ประชาชนที่ได้รับการอบรมมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหันมาออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น


>