กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นนักดื่มรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการถึงแหล่งจำหน่าย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มดื่ม) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตนเพื่อฝึกความสามารถในการควบคุมตนเอง/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ/การตัดสินใจ/การปฏิเสธ/การจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. ขอความร่วมมือร้านค้าชุมชนไม่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามขายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด
stars
แนวทางดำเนินงาน : 2. เพื่อจัดบริการช่วยเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตรายและแบบติดสุราเรื้อรัง
label_important
วิธีการสำคัญ
เกณฑ์การวินิจฉัยการติดสุรา
• ต้องเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้น
• มีอาการทางร่างกายเมื่อไม่ได้ดื่ม
• ควบคุมการดื่มไม่ได้
• หมกมุ่นอยู่กับกับการดื่ม
• พยายามเลิกหลายครั้งแล้ว แต่เลิกไม่สำเร็จ
• มีความบกพร่องในหน้าที่ทางสังคม/การงาน
• ยังคงดื่มอยู่ทั้งๆ ที่มีผลเสียเกิดขึ้นแล้ว

วิธีการ

1. เน้นการค้นหาและวินิจฉัยผู้มีปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะการดื่มแบบเสี่ยงและแบบอันตราย) ร่วมกับการทำฐานข้อมูล ของผู้ดื่มในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน เช่น Mobile Clinic และการบำบัดแบบสั้น ที่เน้นการดูแลให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ดื่มแอลกอฮอล์
3. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงาน โดยสามารถใช้เครื่องมือในการคัดกรองชนิดต่างๆ การติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการในกลุ่มที่ดื่มแบบเสี่ยง/แบบอันตราย/แบบติด
4. การจัดบริการส่งต่อผู้ดื่ม ที่มีอาการทางจิตประสาทและไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานานในขณะถอนพิษสุรา โดยเน้นการรักษาระยะยาวสำหรับผู้ที่ติดสุราเพื่อไม่ให้กลับไปใช้สุราอีก
stars
แนวทางดำเนินงาน : พัฒนาทางเลือกในการช่วยลด ละหรือเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามบริบทชุมชน เช่น หมู่บ้านรักษาศีลห้า
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการค้นหาผู้ดื่มที่สร้างปัญหาและทำให้เกิดผลกระทบในชุมชน
3. การออกแบบโปรแกรมที่ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มของบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน ทั้งผู้บริโภคและผู้ขาย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนด/ประกาศ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มในชุมชน เข่น งดดื่มในงานบุญ งานวัด งานแต่ง งานประเพณี และเทศกาลรื่นเริง
2. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมทั้งการบริโภคและการจำหน่ายในชุมชน เช่น การไม่ขายให้เด็กและเยาวชน และขายตามช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
3. มีกรรมการชุมชนทำหน้าที่ติดตามประเมินผล การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
4. กำหนดมาตรการชุมชนโดยการไม่รับการอุปถัมภ์กิจกรรมด้านกีฬาหรือด้านศิลปวัฒนธรรมที่มาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาต หรือสั่งปิดร้านจำหน่ายสุราที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
6. สนับสนุนให้ดื่มและจำหน่ายเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ (nonalcoholic cocktail) ในทุกกิจกรรมของชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อลดความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เช่น การเกิดอุบัติเหตุจราจร การทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำกับควบคุมโดยคณะกรรมการชุมชน เช่น มาตรการในการป้องกันปัญหาจากการขับรถขณะเมาสุรา (กฎการดื่มไม่ขับ) การมีจุดสุ่มตรวจแอลกอฮอล์ในชุมชน การติดตามประเมินความเรียบร้อยในชุมชนจากเหตุทะเลาะวิวาท หรือ การทำร้ายร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. การสร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ สายด่วนชุมชน กรณีเกิดการก่อเหตุความรุนแรงในครัวเรือนที่มาจากการดื่มสุรา
3. การจัดกองทุนหมู่บ้านเพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยผู้ก่อความเสียหายมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าชดใช้ (การลงโทษทางสังคม)
4. กำหนดมาตรการ การเพิกถอนหรือระงับใบขับขี่ การปรับ การให้ทำงานรับใช้ชุมชนเมื่อดื่มแล้วขับ ถ้าระดับแอลกอฮอล์เกินกำหนด เช่น หากผู้ขับขี่ที่อายุไม่ถึง 20 ปีถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน
• การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
• การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร
• การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
• การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model) โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน
• การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
• การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
• การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้
• ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร
• เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร
• เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ