กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเขารูปช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงตั้งครรภ์ใส่ใจ รักลูกห่วงใย แม่ยุคใหม่ 4.0

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเขารูปช้าง

ทัณฑสถานหญิงสงขลา

น.ส.ประณยา อำพันสกุล 093-5414451

ทัณฑสถานหญิงสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

0.00
2 หญิงตั้งครรภ์มีความเข้าใจการปฏิบัติตัวเวลาตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด

 

0.00

การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น
ในแต่ละปีทันฑสถานหญิงสงขลา มีผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ประเภท ตั้งครรภ์แรก หรือครรภ์ 2-3 ขึ้นไป ประมาณ 15 คน พบว่า ส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตนระหว่างการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ตามกำหนด และการดูแลปฏิบัติตนเองหลังคลอด การดูแลลูกหลักคลอด
ข้อกำหนดกรุงเทพที่ 48 (Bangkok rule ) ที่กำหนดว่า
1. ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์และผู้ต้องขังหญิงที่ให้นมบุตร พึงได้รับคำแนะนำทางด้านการดูแลสุขภาพและโภชนาการ ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเหมาะสมของบุคลากรทางการแพทย์เรือนจำ ควรจัดให้บริการอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมแก่เวลา สภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพและโอกาสในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสำหรับผู้ต้องขังที่ให้นมบุตรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. ผู้ต้องขังหญิงไม่ควรถูกลดโอกาสในการให้นมบุตร เว้นแต่ในกรณีที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
3. ควรผนวกการดูแลทางการแพทย์และโภชนาการที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขังหญิงที่พึ่งคลอดบุตรแต่บุตรไม่ได้อยู่กับผู้ต้องขังในเรือนจำ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง

ทางสถานพยาบาล ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ จึงได้จัดโครงการหญิงตั้งครรภ์ใส่ใจ รักลูกห่วงใย แม่ยุคใหม่ 4.0 ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

0.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะการปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้และทักษะการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ หลังคลอด

0.00 80.00

1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี พัฒนาการสมวัย มีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์ให้เข้มแข็ง สามารถดูแลลูกได้อย่างมีคุณภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมแกนนำหญิงตั้งครรภ์แม่นมและอบรมหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้

ชื่อกิจกรรม
การฝึกอบรมแกนนำหญิงตั้งครรภ์แม่นมและอบรมหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขึ้นทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ต้องขัง และอบรมเรื่อง การปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์ การพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงเวลา การดูหรือสังเกตอาการความผิดปกติของครรภ์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอาบน้ำ โดยจะมีแกนนำหญิงตั้งครรภ์(แม่นมจะคอยกระตุ้น)
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คนX 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.X 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3.ค่าเอกสาร เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดได้อย่างถูกต้องและมีความมั่นใจ
  2. เกิดแกนนำหญิงบริบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความรู้และสามารถแนะนำการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3200.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมการเป็นคุณแม่มือใหม่ การเลี้ยงดูลูก และการคัดกรองภาวะซีด ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมการเป็นคุณแม่มือใหม่ การเลี้ยงดูลูก และการคัดกรองภาวะซีด ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับพื้นที่ให้มีมุมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เมื่อเป็นคุณแม่ และการฝึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตรวจหลังคลอด โดยการศึกษาได้ด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนรู้ ด้วยสื่อดีวีทัศน์และการบรรยายของวิทยากร
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
2.ค่าจัดบอร์ดนิทรรศการ เป็นเงิน 2,000 บาท
3.อุปกรณ์และสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเงิน 20,000บาท
4.มุมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเงิน 10,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หญิงตั้งครรภ์สามารถเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติตนในตอนตั้งครรภ์จากสื่อและมุมส่งเสริมพัฒนาการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดได้อย่างถูกต้องและมีความมั่นใจ
2. เกิดแกนนำหญิงบริบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความรู้และสามารถแนะนำการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์


>