กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มนุษย์ทุกคนล้วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย การเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาตั้งแต่เราเกิดมาจนแก่เฒ่าและตายไปในสมัยโบราณคนไทยได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาหรือบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นโดยการลองผิดลองถูกอาจเริ่มต้นจากการบีบนวดบริเวณที่เจ็บปวดตามร่างกายแล้วสามารถทำให้ผ่อนคลายหรือหายจากความเจ็บปวดได้หรือโดยการสังเกตผลจากการกินพืช ส่วนของพืชผัก ผลไม้บางชนิด ตลอดจนสัตว์หรือส่วนของสัตว์ซึ่งทำให้บรรเทาหรือหายจากความเจ็บป่วยได้ ประสบการณ์เหล่านี้ค่อยๆถูกสะสมไว้แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งจนมาถึงปัจจุบัน ความรู้ที่เกิดขึ้นเหล่านี้เมื่อได้ผ่านการรวบรวม วิเคราะห์ สรุป และจัดให้เป็นระบบหรือเป็นหมวดหมู่กลายเป็นระบบการแพทย์แบบดั้งเดิมของคนไทยซึ่งในสมัยก่อนเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกเป็น การแพทย์แผนไทย
วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยโบราณหรือแม้กระทั่งในสังคมปัจจุบัน บางแห่งล้วนเกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทยทั้งสิ้น สมาชิกในครอบครัวหนึ่งๆ อาจผูกพันกับการแพทย์แผนไทยตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต้องทำงานในสวนยาง สวนผลไม้ หรือแม้กระทั่งทำงานในสำนักงาน ก็มักมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดเอว ปวดหลัง เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ หากอาการไม่รุนแรงมากนัก ก็มีการดูแลรักษากันเองโดยหมอที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการนวดเพื่อให้ผ่อนคลายจากความเมื่อยล้าหรือการนวดโดยหมอนวดเพื่อบำบัดรักษาโรคหรืออาการบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น ปวดเอวหรือการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรเพื่อให้ผ่อนคลายจากความปวดเมื่อยรวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรหรือการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ล้วนจัดเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยทั้งสิ้น
ในปี 2558 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ได้เปิดบริการด้านการการแพทย์แผนไทย เน้นการจ่ายยาสมุนไพร การนวด/การประคบสมุนไพร และการอบไอน้ำสมุนไพร โดยในปี 2561 มีผู้รับบริการทั้งสิ้น จำนวน 75 คน ซึ่งในการให้บริการแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้วัสดุต่างๆทีมีความสิ้นเปลือง เช่น ลูกประคบ และน้ำมันไพล และต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการผลิตลูกประคบและน้ำมันไพล เพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ตระหนักถึงความสำคัญของของการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย และการส่งเสริมให้ อสม.ในพื้นที่มีความรู้ในเรื่องการแพทย์แผนไทย สามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีความรู้ในเรื่องการใช้สมุนไพรในชุมชน เพื่อรักษาโรคเบื้องต้น

ร้อยละ 80 ของ อสม.มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในชุมชน เพื่อการรักษาเบื้องต้น

0.00
2 เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับ อสม.

ร้อยละ 80 ของ อสม.มีความรู้ และสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้คนในครัวเรือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม. 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 2 มื้อx 25 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน  x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บาท  x 5 ชั่วโมง เป็นเงิน  1,500 บาท
  4. ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน  1,000 บาท
  5. ค่ายานพาหนะสำหรับ อสม.ที่เข้ารับการอบรม จำนวน 60 คน x 50 บาท เป็นเงิน  3,000 บาท
  6. ค่าวัสดุสาธิตการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร ประกอบด้วย

- ลูกประคบ จำนวน 60 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - น้ำมันไพล จำนวน 60 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ยาหม่อง จำนวน 60 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 7.ค่าวัสดุในการจัดอบรม
- ปากกา จำนวน 60 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท - สมุด จำนวน 60 เล่มๆละ 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท - กระเป๋าพร้อมสกรีน จำนวน 60 ใบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 9.ค่าจัดทำหนังสือสมุนไพรrพื้นบ้าน จำนวน 60 เล่มๆละ 70 บ. เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีความรู้เรื่องการใช้สมุนไพรที่มีในชุมชน เพื่อใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น และสามารถถ่ายทอดความรู้/ภูมิปัญญาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้กับสมาชิกในครัวเรือนได้
2. ชุมชนมีการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคเบื้องต้น


>