กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว

พื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้มาลาเรียพบมากในเขตพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมที่ทำให้เชื้อแบ่งตัวได้แก่ เขตร้อนแต่การกระจายของเชื้อโรคอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากโลกมีอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของประชากร สำหรับประเทศไทยจะพบเชื้อได้ทั่วไป ยกเว้นกรุงเทพฯ เชื้อมีมากในป่าเขาในจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทยพบว่ามีเชื้อ พี.ฟาลซิปารัม (P.falciparum) 70%พี.ไวแวกซ์(P.vivax) 50% ตัวพาหะที่นำโรคมาลาเรียคือยุงก้นปล่อง (ตัวเมีย) พบมากในป่าทึบ ชอบวางไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ ในลำธาร น้ำใสไหลเอื่อยๆ เช่น แอ่งหินในป่าทึบ นิสัยชอบกัดเลือดคน มากกว่าสัตว์อื่น ออกหากินตอนดึกถึงเช้ามืด และไม่ชอบเกาะฝาบ้าน ชอบวางไข่ หลังจากกัดคน แล้วจะเกาะที่ฝาบ้าน แต่ในปัจจุบันมีการปรับตัวคือหลังจากกัดคนแล้วจะไม่เกาะฝาบ้านและจะกัดคนนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำ
โรคไข้มาลาเรีย ยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยจากสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย พ.ศ. 2561 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 6,641 ราย ส่วนใหญ่เป็นคนไทยร้อยละ 72.44 และต่างชาติร้อยละ 27.56 (อัตราป่วย 0.1 ต่อพันประชากร) จำนวนผู้ป่วยลดลงจากปี 2560 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 41.74 สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 2 : 1 กลุ่มอายุ 25-44 ปี (ร้อยละ 32.54) รองลงมา คือ >= 45 ปี (ร้อยละ 21.32) และ 15-24 ปี (ร้อยละ 20.93) และ 5-14 ปี (ร้อยละ 20.10) ตามลําดับ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม เกษตรกร (ร้อยละ 50.99) เด็ก/นักเรียน (ร้อยละ 24.50) อาชีพอื่นๆ (ร้อยละ 14.18) และข้าราชการทหาร/ตํารวจ (ร้อยละ 7.03) ชนิดเชื้อส่วนใหญ่ P.vivax (ร้อยละ 82.14) และ P.falciparum (ร้อยละ 11.93) กลุ่มบ้านที่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ จํานวน 766 กลุ่มบ้านลดลงร้อยละ 13.64 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 (887 กลุ่มบ้าน) และจังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดรองลงมาจากจังหวัดตาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งแต่ละปีจะมีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนมีอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้มาลาเรีย และสภาพพื้นที่ตามแนวชายแดนเอื้อต่อการระบาดของโรคมาลาเรีย
สำหรับสถานการณ์โรค ไข้มาลาเรีย ปี 2561 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียทั้งสิ้น จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 229.52 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ที่ต้องรีบแก้ไข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการเกิดโรคไข้มาลาเรีย จึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถควบคุมและป้องกันการเกิดโรคในชุมชนได้ และเพื่อให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (ทีม SRRT) สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันโรคและการระบาดในพื้นที่ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย

เปรียบเทียบอัตราป่วยโรคไข้มาลาเรียจากปีที่ผ่านมา (อัตราป่วยไม่เกิน 300 ต่อประชากรแสนคน)

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย

ร้อยละ 80 ของประชาชนในพื้นที่มีมีส่วนร่วมในกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย และมีความพึงพอใจในกิจกรรมฯการดูแลสุขภาพตนเองให้ปลอดภัยจากโรค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมพ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง ในพื้นที่รับผิดชอบ/โรงเรียน/ศพด./มัสยิด 1.1 ค่าจ้างในการพ่นหมอกควัน และพ่นสารเคมีติดฝาผนัง จำนวน 5 คน x 240 บาท x 15วัน เป็นเงิน18,000 บาท 1.2ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อใช้ในการพ่นหมอกควันและพ่นสารเคมีติดฝาผนัง
- น้ำมันดีเซล จำนวน 500 ลิตร x 29 บาท เป็นเงิน 14,500 บาท - น้ำมันเบนซิน 95 จำนวน 300 ลิตร x 32 บาท เป็นเงิน9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย
2. ประชาชนสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดโรคได้
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง


>