กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ NCD Delivery (การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่งถึงบ้าน)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

โรงพยาลบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว

พื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ม.3, ม.4 และ ม.10 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญของโลกและประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเจริญของโลก ประกอบกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงทำให้มีผู้สงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงยังทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้สำนักโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต้องดำเนินการเฝ้าระวัง
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง
ข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ ปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ทั้งสิ้น จำนวน 620,413 ราย เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8,525 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ทั้งสิ้น จำนวน 266,903 ราย เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน จำนวน 14,322 ราย โดยจังหวัดยะลา มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 6,663 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 2,296 ราย และอำเภอบันนังสตา มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ มีจำนวน 479 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 140 ราย ส่วนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 20 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 10 ราย ส่วนที่เหลือ 3 โรค มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้เห็นว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมของประชาชน ซึ่งก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาประสบปัญหาการจัดบริการสุขภาพที่ไม่ทั่วถึงขาดประสิทธิภาพ มีการแยกส่วนจุดบริการที่ขาดการแก้ปัญหาร่วมกัน และขาดความเชื่อมโยงต่อเนื่อง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทรายแก้ว จึงตระหนักถึงปัญหาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและได้จัดระบบการติดตามผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งการขาดความเชื่อมโยงต่อเนื่องในการรักษา อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและเสียชีวิตได้ จึงได้จัดโครงการ NCD Delivery (การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่งถึงบ้าน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชนและญาติในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านและการเสริมพลังอำนาจให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

0.00
2 เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้สามารถนำไปใช้ดูแลตนเองและชุมชนได้

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่สามารถนำไปใช้ดูแลตนเองและชุมชนได้

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 80
อสม. 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการป้องกัน การปฏิบัติและทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการป้องกัน การปฏิบัติและทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 140 คน x 1 มื้อ x 50 บาท (จัดอบรม จำนวน 2 รุ่น) เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 140 คน x2 มื้อ x 25 บาท (จัดอบรม จำนวน 2 รุ่น) เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 300 บาท x 5 ชั่วโมง x 2 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าตอบแทน อสม. ในการติดตามดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และผู้ป่วยขาดนัด รายละ100 บาท จำนวน 88 ราย ตลอดปีงบประมาณ เป็นเงิน 8,800 บาท
  • กระเป๋าพร้อมสกรีนสำหรับผู้ป่วย จำนวน 80 ใบ x 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม
- สมุด 5 บาท x 140 คน เป็นเงิน 700 บาท - ปากกา 5 บาท x 140 คน เป็นเงิน 700 บาท - แฟ้ม 10 บาท x 140 คน เป็นเงิน 1,400 บาท - ค่าจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 1.5x3 เมตร จำนวน 1 ผืน x 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่มีพฤติกรรมดูแลตัวเอง ที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่มีพฤติกรรมดูแลตัวเอง ที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าประกาศนียบัตร แผ่นละ 10 บาท X100 คน เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตระหนักถึงการรักษาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังภาวะแทรกซ้อน ความพิการและเสียชีวิตลดลง
3.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้าถึงการบริการมากขึ้น


>