กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลกาบัง 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

ในพื้นที่หมู่ที่ 4,หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 ตำบลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ยังคงมีความสำคัญในระดับประเทศ ได้แก่ โรคติดต่อ ซึ่งมีทั้งโรคติดต่อนาโดยแมลง โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ โรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น จากสถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังควบคุมป้องกันด้วยโรคไข้เลือดออกระดับประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2562 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 35,482 ราย อัตราป่วย 53.72 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 54 ราย
โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดยะลา ในปี พ.ศ.2562 พบว่า ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2562 จังหวัดยะลาอยู่ลำดับที่ 7 ของประเทศไทย และอยู่ลำดับที่ 1 ของเขต 12 จำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 468 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 89.18 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของพื้นที่อำเภอกาบังในปี พ.ศ. 2562 พบว่า มูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2562 อำเภอกาบังอยู่ลำดับที่ 6 ของจังหวัดยะลา มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 9 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 37.45 ต่อประชากรแสนคน และเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลกาบัง หมู่ที่ 4 , 5 และ 7 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 23.67 ต่อประชากรแสนคน
สถานการณ์โรคไข้มาลาเรียของพื้นที่อำเภอกาบังในปี พ.ศ. 2562 ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2562 จำนวนผู้ป่วย 49 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 208.10 ต่อประชากรแสนคน ตำบลกาบังมีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 44.40 ต่อประชากรแสนคน และเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลกาบัง หมู่ที่ 4 , 5 และ 7 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย
แนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียมีเกิดการระบาดอยู่ทุกๆปี และในปี พ.ศ.2562 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามพยากรณ์การระบาด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินงานควบคุมป้องกันการระบาดเพิ่มมากขึ้น และเป็นการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) ในเรื่องของการเฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ เป็นกลไกหนึ่งที่ในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพการเจ็บป่วย และเสียชีวิต สามารถรู้เหตุการณ์ของโรคได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นาชุมชน ดังนั้น กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลกาบัง จึงได้จัดทำเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 4, 5 และหมู่ที่ 7 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ปี 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอัตราป่วย ดังแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามพยากรณ์การระบาดอาจเกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อให้ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เป้าหมายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลกาบัง 2562

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลกาบัง 2562
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 100 คน        เป็นเงิน  5,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท  x 2 มื้อ x 100 คน
                                                           เป็นเงิน  5,000  บาท
  • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาท           เป็นเงิน  1,800  บาท
  • ค่าตอบแทนพ่นหมอกควัน จำนวน 2 คนๆ
      ละ 300  บาท X 15 ครั้ง                       เป็นเงิน  9,000  บาท
  • ค่าตอบแทนพ่นสารเคมีตกค้าง จำนวน 2 คนๆ
      ละ 300 บาท X 25 วัน                       เป็นเงิน  15,000 บาท
  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง      -น้ำมันเบนซิล                                เป็นเงิน    3,900 บาท      -น้ำมันดีเซล                                  เป็นเงิน    9,100 บาท

รวมเงินทั้งสิ้น  48,800  บาท (เงินสี่หมื่นแปดพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคนำโดยแมลง
2. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกเกิดใน generation 2
3. ผู้ป่วยลดลงจากปีที่ผ่านมา


>