กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยชมรมอสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยชมรมอสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

ชมรมอสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

หมู่ที่ ๔ บ้านต้นสน ,หมู่ที่ ๘บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะและหมู่ที่ ๑๓บ้านทุ่งนายพัน ตำบลโคกสักอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาการกำจัดขยะเป็นปัญหาในภาพใหญ่ของหลายๆ ประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชน ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควันจากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้เกิดสารตกค้างทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warmming)
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2562ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม โดยสอดคล้องกับพื้นที่และสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนในการจัดการขยะของภาคประชาชนอย่างมีส่วนร่วมร่วมกันเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการสร้างสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน ที่มีผลต่อสุขภาพที่ดี โดยร่วมกันลดขยะและการจัดการขยะที่ดี ควบคู่การสร้างรายได้เสริม สร้างความสามัคคีและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการเสริมสร้างในการเสริมแรงพลังชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างเข็มแข็งและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ครัวเรือน/ชุมชนมีความรู้และสามารถระบุวิธีการคัดแยกขยะและประเภทขยะได้

ประชาชนในหมู่บ้านรู้จักวิธีการคัดแยกขยะประเภทต่างๆได้

0.00
2 ปริมาณขยะในครัวเรือน/ชุมชนที่ต้องจัดการลดลง และโรคระบาดลดลง

ประชาชนมีความตระหนักและรู้จักการสร้างสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ดี  โรคระบาดลดลงปลุกฝังสร้างจิตสำนึกในการลดขยะจากครัวเรือน

0.00
3 ครัวเรือนร้อยละ 50 มีการคัดแยกขยะ/ใช้ประโยชน์จากขยะ

ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีสุขภาพ อนามัยที่ดี จากการบริหารจัดการขยะที่ดีของชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/08/2019

กำหนดเสร็จ 29/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกทักษะและสาธิตการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะและสาธิตการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุ                                  =2,200 บ. รุ่นที่1 -ค่าอาหารว่าง 20 บ.x50คนx2มื้อ = 2,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 50คน = 3,000บ. -ค่าสมนาคุณวิทยาการ ชม.ละ 300บ.x 6ชม.                                            = 1,800 บ รุ่นที่2 -ค่าอาหารว่าง 20 บ.x50คนx2มื้อ = 2,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 50คน = 3,000บ. -ค่าสมนาคุณวิทยาการ ชม.ละ 300บ.x 6ชม.                                            = 1,800 บ รุ่นที่3 -ค่าอาหารว่าง 20 บ.x50คนx2มื้อ = 2,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 60บ.x 50คน = 3,000บ. -ค่าสมนาคุณวิทยาการ ชม.ละ 300บ.x 6ชม.                                            = 1,800 บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีทักษะและสาธิตการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22600.00

กิจกรรมที่ 2 ร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 20 บ.x150คนx1มื้อ =3,000บ.
  • ค่าไวนิล 3ผืน x500 บ.               = 1,500บ. -ค่าถ่ายเอกสาร 1บ.x1,000แผ่น      = 1,000บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านและชุมชนให้เอื้อต่อการเสริมสร้างสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการขยะที่ดีของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการขยะที่ดีของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 20 บ.x60คนx1มื้อ =1,200บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการขยะของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,300.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
2. ขยะในครัวเรือน/ชุมชนลดลง และโรคติดต่อที่นำโดยสัตว์และแมลงในหมู่บ้านลดลง
3. ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและสามารถใช้ประโยชน์จากขยะ


>