กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน ตำบลบาโหย ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย รณรงค์ในพื้นที่หมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร 15 ปีขึ้นไป ได้รับการสำรวจการใช้บุหรี่/เชิญร่วมโครงการ/สื่อสารความเสี่ยง

 

80.00
2 พัฒนาแกนนำรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ฯ และชักชวนเลิกบุหรี่ (คน)

 

80.00
3 ประกาศพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย (หน่วยงาน/องค์กร/สำนักงาน)

 

7.00

โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน เป็นหนึ่งในโครงการร่วมเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยใช้กลไก “เครือข่ายหมออนามัยและ อสม.” ซึ่งมีกระจายอยู่ทุกตำบลและหมู่บ้านทั่วประเทศ และ เป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดประชาชนในระดับพื้นที่มากที่สุด สร้าง “กิจกรรมลงมือทำ (Action-based activity)” ควบคู่ไปกับ “กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแส (Campaign-based activity)”
โดยที่กิจกรรมรณรงค์มุ่งให้ข้อมูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “ทัศนคติ” ส่วนกิจกรรมลงมือทำมุ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยกระบวนการกลุ่ม โดยโครงการนี้จะทำการ “สร้างกลุ่มลงมือทำพฤติกรรมบางอย่างร่วมกัน” ซึ่งในที่นี้ คือ การตั้ง “กลุ่มคนรักษ์สุขภาพ ทำกิจกรรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เลิกบุหรี่ (เลิกเหล้า)ร่วมกัน”
ซึ่งจะเน้น “ลงมือทำสร้างพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง” ควบคู่ไปกับ “รณรงค์สร้างกระแสใหญ่เป็นระยะ”โดยโครงการนี้จะจัดให้มีการทำกิจกรรมออกกำลังกายในระดับตำบลทุกสัปดาห์ (ซึ่งแต่ละหมู่บ้านสามารถเป็นตัวแทนระดับตำบลเวียนกันจัดกิจกรรมได้) และจะเชิญคนสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้มาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เลิกบุหรี่ (เลิกเหล้า) ร่วมกันทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง (ในเบื้องต้นจะดำเนินการเฉพาะการสำรวจความชุกการสูบบุหรี่และชักชวนเลิกบุหรี่เท่านั้น) และกำหนดเพิ่มเติมให้พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ต้องได้รับการประเมินอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดภารกิจให้หน่วยบริการ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน และพัฒนาศักยภาพชมรมสร้างสุขภาพเครือข่ายระดับตำบลให้มีมาตรฐานจึงเป็นการสร้างสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างชุมชนตระหนักรู้ถึงโทษภัยจากการสูบบุหรี่

ประชากร 15 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 3,225 คน ได้รับการสำรวจ/สื่อสารความเสี่ยง (ตรวจผลงานจาก HDC กระทรวงสาธารณสุข)

3225.00 2403.00
2 เพื่อสร้างแกนนำรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ฯ และชักชวนเลิกบุหรี่

แกนนำปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (คิดจากอัตราการนำส่งแบบสำรวจการแนะนำชักชวนเลิกบุหรี่)

80.00 80.00
3 เพื่อประกาศพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย

พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ประกาศห้ามสูบบุหรี่ ร้อยละ 100 คงสภาพ (7 แห่ง)

7.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,225
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ฯ และชักชวนเลิกบุหรี่ 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาเครือข่ายเพื่อการเลิกบุหรี่ และสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาเครือข่ายเพื่อการเลิกบุหรี่ และสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย แจ้งผลการดำเนินการแก่สาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย
    -ประสานเครือข่ายชุมชน องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เครือข่าย อสม. เครือข่ายผู้นำชุมชน องค์กรภาครัฐที่ประกาศพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่
    • จัดตั้งเครือข่ายคณะกรรมการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในระดับตำบล ประชุมวางแผนดำเนินการ(นำโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน/เจ้าพนักงานตาม พรบ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่)
    • อบรมพัฒนาเครือข่ายเพื่อการใช้สื่อรณรงค์และการชักชวนประชาชนร่วมโครงการ
  • จัดกิจกรรมรณรงค์ สำรวจชุมชนโดยแกนนำ และเคาะประตูบ้านชวนเลิกบุหรี่ติดประกาศ เอกสารเชิญชวน ติดตามประเมินผลการเลิกบุหรี่ ตามแนวทางทุ่งพอโมเดล (รพ.สต.โคกตก ตำบลทุ่งพอ)
  • บันทึกข้อมูลใน JHCIS และส่งข้อมูลเข้าHDC
  • บันทึกข้อมูลใน http://www.quitforking.com
  • การกำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่อย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (เบื้องต้นเฉพาะพื้นที่ส่วนราชการและพื้นที่ที่ดำเนินการโดยสมัครใจ)
  • เลือกบุคคลตัวอย่างผู้เลิกบุหรี่ และผู้นำสุขภาพด้านการเชิญชวนลดละเลิกบุหรี่ โดยฉันทามติของเครือข่ายคณะกรรมการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในระดับตำบล มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติในวันที่ 13 ตุลาคม 2562
  • ประเมิน และรายงานผล

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาเครือข่าย จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ดังนี้ - ค่าเอกสารคู่มือการเรียนรู้สำหรับเครือข่ายฯชุดละ 20 บาท จำนวน 80 ชุด เป็นเงิน1,600บาท - ค่าอาหารว่างมื้อละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 80 คน เป็นเงิน2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำรณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ฯ และชักชวนเลิกบุหรี่ จำนวน 80 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ในชุมชนเพื่อคัดกรองแนะนำชักชวนเลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ในชุมชนเพื่อคัดกรองแนะนำชักชวนเลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแบบพิมพ์เล่มใบสมัคร ติดตาม และฐานข้อมูลประวัติผู้สูบ เล่มละ  17.50 บาท จำนวน 80 เล่ม เป็นเงิน    1,400  บาท
  • ค่าสื่อรณรงค์ในชุมชน (โมเดล/โปสเตอร์/แผ่นพับ/ป้ายห้ามสูบบุหรี่)      เป็นเงิน    3,600  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากร 15 ปีขึ้นไป ได้รับการสื่อสารความเสี่ยง จำนวนประมาณ 3,225 คน
ประกาศพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย/คงสภาพ จำนวน 7 หน่วยงาน/องค์กร/สำนักงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 เชิดชูเกียรติและยกย่องผู้ดำเนินงานสำเร็จมีผลการปฏิบัติที่โดดเด่น

ชื่อกิจกรรม
เชิดชูเกียรติและยกย่องผู้ดำเนินงานสำเร็จมีผลการปฏิบัติที่โดดเด่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเกียรติบัตรพร้อมกรอบ การประกวดแกนนำเลิกบุหรี่ ชุดละ 200 บาท จำนวน 7 อัน  เป็นเงิน       1,400  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ/บุคคลตัวย่าง 7 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.การดำเนินงานเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีปฏิบัติตัวชี้วัดและการติดตามของกระทรวงสาธารณสุข 2.โครงการอนุมัติการดำเนินการโดย นพ.สสจ.สงขลา 3.ถัวเฉลี่ยทั้งโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนตระหนักถึงโทษภัยจากการสูบบุหรี่ และให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบ
2. ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ เป็นตัวอย่างให้ผู้เลิกบุหรี่สำเร็จในชุมชน
3. พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ประกาศห้ามสูบบุหรี่ ร้อยละ 100


>