กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย และดำเนินการกิจกรรมเชิงรุกใน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง (35ปีขึ้นไป)

 

90.00
2 ร้อยละของการเข้าถึงบริการคัดกรองโรคเบาหวาน (35ปีขึ้นไป)

 

90.00
3 ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง(เบาหวานและความดันโลหิตสูง)ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

80.00

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้หน่วยบริการ จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้สามารถดำเนินการคลอบคลุมตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขฯ พ.ศ.2547 เอกสารแนบท้าย ลงวันที่ 25 มีนาคม 2557 ทุกรายการ
สภาพปัญหาทางสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง สังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น แบบแผนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเปลี่ยนจากโรคติดต่อมาเป็นโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น พบมากในวัยผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการถดถอยของสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม องค์การอนามัยโรค พบว่า ทั่วโลกมีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเกือบพันล้านคน คาดการณ์ว่าในปี 2568 ประชากรวัยวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกจะป่วยด้วยโลกความดันโลหิตสูง 1.56 พันล้านคน สถิติเบาหวานทั่วโลก ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พบว่าปี 2558 เบาหวาน 415 ล้านคน ทำนายว่าปี 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวาน 642 ล้านคน จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บาโหย ในปี 2562 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ไม่รวมผู้ป่วย) จำนวน 1,517 คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,440 คน ร้อยละ 94.92) ปกติ 928 คน ร้อยละ 64.4 เสี่ยง 282 คน ร้อยละ 19.58 สงสัยป่วย 225 คน ร้อยละ 15.63 และประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ไม่รวมผู้ป่วย) จำนวน 1,721 คน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,638 คน ร้อยละ 95.18 ปกติ 1,478 คน ร้อยละ 90.23 เสี่ยง 135 คน ร้อยละ 2.24 สงสัยป่วย 25 คน ร้อยละ 1.53 และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 314 คน โรคเบาหวาน 78 คน การตรวจโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยการวัดความดันโลหิตและการเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เป็นกิจกรรมเบื้องต้นที่จะช่วยไม่ให้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ หากประชากรในหมู่บ้านให้ความสำคัญและมาตรวจคัดกรองเป็นบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งผ่านการอบรมและฝึกปฏิบัติในการวัดความดันโลหิตและการเจาะหาน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว แต่ยังมีวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานไม่เพียงพอ ดังนั้น คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบาโหย จึงจัดทำโครงการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ประจำปี 2562 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามมาตรฐาน

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,517
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพชุมชนและเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพชุมชนและเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมเสริมองค์ความรู้ใหม่และซักซ้อมวิธีปฏิบัติ แก่เครือข่ายชุมชนระยะเวลา 1 วัน (อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
  2. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์
    ระยะที่ 1 สร้างสื่อสร้างกระแสสังคมด้านสุขภาพ ระยะที่ 2 กิจกรรมรณรงค์คัดกรองในและนอกสถานบริการ ระยะที่ 3 กิจกรรมตรวจประเมินเพื่อส่งต่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ/รักษา
  3. ประเมิน และรายงานผล
    • ค่าเอกสารและวัสดุการฝึกอบรม จำนวน 77 ชุด ชุดละ 45 บาท        เป็นเงิน    3,465 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันละ 25 บาท จำนวน 77 คน              เป็นเงิน    1,925 บาท
    • ค่าจัดทำเอกสารโครงการ และเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์          เป็นเงิน    1,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำ จำนวน 77 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6990.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงรุก(ชุดคัดกรอง)

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงรุก(ชุดคัดกรอง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าACCU-CHEKPerforma (สติปตรวจเบาหวาน) จำนวน 1,050 ชิ้น ชิ้นละ 15 บาท เป็นเงิน    15,750 บาท
  • ค่าACCU-CHEK Safe T-Pro (เข็มเจาะเบาหวาน)จำนวน 1,050 ชิ้น ชิ้นละ 5 บาท    เป็นเงิน    5,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อุปกรณ์มีความพร้อมดำเนินการเชิงรุก จำนวน 1050 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

กิจกรรมที่ 3 การปฏิบัติงานเชิงรุก/การควบคุม-สนับสนุน การปฏิบัติงานในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การปฏิบัติงานเชิงรุก/การควบคุม-สนับสนุน การปฏิบัติงานในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5)    เป็นเงิน    3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดบริการเชิงรุกในชุมชนได้ตามมาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,990.00 บาท

หมายเหตุ :
1.การดำเนินงานเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีปฏิบัติตัวชี้วัดและการติดตามของกระทรวงสาธารณสุข 2.โครงการอนุมัติการดำเนินการโดย นพ.สสจ.สงขลา 3.ถัวเฉลี่ยทั้งโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพตามมาตรฐาน
2. สามารถประมวลผลพัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และส่งต่อในรายที่จำเป็น


>