กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาคลินิกโรคเรื้อรัง(NCD) ตำบลบาโหย ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย และการติดตามเชิงรุกในชุมชน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้หน่วยบริการ จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้สามารถดำเนินการคลอบคลุมตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขฯ พ.ศ.2547 เอกสารแนบท้าย ลงวันที่ 25 มีนาคม 2557 ทุกรายการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่สำคัญ ตามความหมายของระบบบริการปฐมภูมิ1 หมายถึง ส่วนที่เป็น“บริการ” อันเป็นการจัดการให้เกิดกระบวนการบริการปฐมภูมิ ซึ่งมีคุณลักษณะของระบบบริการ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ บริการองค์รวม การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน มีขอบเขตการดำเนินการบริการสาธารณสุขทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของปัญหาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม
การจัดการโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ต้องดำเนินการทุกช่วงระยะของชีวิต ตั้งแต่ระยะที่ไม่เจ็บป่วย ไม่มีอาการ มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน /เรื้อรัง มีภาวะแทรกซ้อน มีความพิการต้องใช้การบูรณาการและความร่วมมือของทีมชุมชนหลายภาคส่วน ต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมและผสมผสาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย เป็นหน่วยบริการที่ใกล้ชิดและเข้าใจบริบทของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนมากที่สุด การพัฒนาระบบการจัดการโรคเรื้อรังใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย ให้มีคุณภาพ ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์บริการของผู้มารับบริการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างนวัตกรรมคลินิกโรคประจำตำบลบาโหย-ระดับพื้นฐาน (แห่ง)

คลินิก โรคเรื้อรัง(NCD) และมีความพร้อมในการในระดับพื้นฐาน

1.00 1.00
2 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เข้ารับบริการเข้าถึงบริการในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระดับความพึงพอใจดี (ร้อยละ)

ผู้เข้ารับบริการมีความพึงพอใจในระดับ ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 80.00
3 เพื่อดำเนินการติดตามรักษากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น (คน)

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมและจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดัน หัวใจ/หลอดเลือด ไต หืด มะเร็ง เกาต์ อัมพฤษ์ อัมพาต ฯลฯ)

ชื่อกิจกรรม
อบรมและจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดัน หัวใจ/หลอดเลือด ไต หืด มะเร็ง เกาต์ อัมพฤษ์ อัมพาต ฯลฯ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย
  2. ขอปรับปรุงที่ตั้งคลินิกและจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือประจำคลินิก
  3. อบรมเสริมยุทธศาสตร์/ทักษะ/องค์ความรู้ใหม่ แก่เครือข่าย กลุ่มโรคเรื้อรัง (NCD)
  4. ดำเนินกิจกรรมในคลินิก 4.1 จัดบริการปรึกษา สาธิต ประเมินสุขภาพ ในคลินิก (ในหน่วยบริการ) 4.2 ติดตามประเมินผู้ร่วมโครงการในชุมชน 4.3ดำเนินการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาต่อเนื่องไม่มีโรคแทรกซ้อน
  5. ส่งต่อผู้รับบริการในรายที่มีปัญหาไปยังโรงพยาบาลตามขั้นตอนตามระบบการส่งต่อ เพื่อดูแลรักษา และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
  6. ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ
    7.รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานปัญหา และอุปสรรค

อบรมและจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดัน หัวใจ/หลอดเลือด ไต หืด มะเร็ง เกาต์ อัมพฤษ์ อัมพาต ฯลฯ)

  • ค่าเอกสารและวัสดุการฝึกอบรม จำนวน 70 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน1,750 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันละ 25 บาท จำนวน 70 คนเป็นเงิน1,750 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาทเป็นเงิน 800 บาท
    • ค่าจัดทำเอกสารโครงการ คู่มือ สื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 70 คนได้รับการติดตาม พัฒนา และไม่มีภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงาน/จัดบริการสุขภาพกลุ่มผู้ป้วย

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงาน/จัดบริการสุขภาพกลุ่มผู้ป้วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุการตรวจเจาะเลือดประจำปี จำนวน 70 ชุด ชุดละ 45 บาท        เป็นเงิน    3,150  บาท (ประกอบด้วย Tube ม่วง , Tube เขียว , Tube เทา , Syring 5 cc. ,Urine Test 2 แถบ ,ถุงมือ เบอร์ S)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุเพียงพอต่อกรจัดบริการสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 3 การปฏิบัติงานจัดบริการในหน่วยบริการ การปฏิบัติงานเชิงรุก/การควบคุม-สนับสนุน การปฏิบัติงานในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การปฏิบัติงานจัดบริการในหน่วยบริการ การปฏิบัติงานเชิงรุก/การควบคุม-สนับสนุน การปฏิบัติงานในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5)  เป็นเงิน    2,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการ การติดตาม ตามมาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,450.00 บาท

หมายเหตุ :
1.การดำเนินงานเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีปฏิบัติตัวชี้วัดและการติดตามของกระทรวงสาธารณสุข 2.โครงการอนุมัติการดำเนินการโดย นพ.สสจ.สงขลา 3.ถัวเฉลี่ยทั้งโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คลินิก DPAC และมีความพร้อมในการจัดบริการให้แก่ประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งในหน่วยบริการและในชุมชน (ระดับพื้นฐาน)
2. ผู้เข้ารับบริการเข้าถึงบริการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้สะดวกและมีความพึงพอใจ (ระดับดี)
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 ราย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน


>