กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร หมู่ 1,2,3,7,8,9

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร หมู่ 1,2,3,7,8,9

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร หมู่ 1,2,3,7,8,9

หมู่ที่ 1,2,3,7,8,9 ตำบลนิคมพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่าและรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่่งถูกต้องและทันเวลาและต่อเนื่องสม่ำเสมอภาวะเสี่ยงต่างๆอาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอดที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารก จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัยมีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์หญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด ของหมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล พบว่าร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ของปี 2559, 2560, และ 2561 คิดเป็นร้อยละ 77.78 , 77.19 และ 72.50 ตามลำดับ, ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพของปี 2559,2560,2561 คิดเป็นร้อยละ 44.44,56.14 และ 50 ตามลำดับ
ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่คนเดียวของปี 2559, 2560, และ 2561 คิดเป็นร้อยละ 1.59,20.24, และ5.88 ตามลำดับ พบว่ายังมรปัญหาอีกหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลปกติในบางตัว เช่น การติดเชื้อ HIV ภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ตลอดจนภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นคณะคลอด และหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ความสำคัญของการตรวจหลังคลอดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความมสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มาฝากครรภ์ตามนัดหมายจึงส่งผลให้ไม่สามารถดูแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอดและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้องที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยได้กำหนดให้ การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันในคนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงพอแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
จังหวัดสตูลในปี 2561 มีจำนวนการคลอดในหญิงอายุ 10-14 ปี จำนวน 10 คน จำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี จำนวน 575 คน หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีจำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี ในปี 2559-2561 จำนวน 7,12 และ 6 คน ซึ่งมีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรสโดยส่วนหนึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จังอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผล ต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาเด็กและเยาวชนตำบลนิคมพัฒนาตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและกแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันกการท้องกก่อนวัยอันควร หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จัหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และเพื่อให้กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง 2.เพื่อให้กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมรณรงค์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมรณรงค์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2.5 เมตร X 1 เมตร จำนวน 1 ป้าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน X 70 บาท x 1 มื้อ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 x 2 มื้อ -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท จำนวน 6 ชม. -ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 40 บาท (ปากกา 5 บาท,แฟ้ม 20 บาท  เอกสารอบรม ชุดละ 15 บาท) x 60 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 3. อบรมเชิงปฏิบัติการในเด็กนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง

ชื่อกิจกรรม
3. อบรมเชิงปฏิบัติการในเด็กนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 90 คน x 70 บาท X 1 มื้อ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คน x 25 x 2 มื้อ -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท จำนวน 6 ชม. -ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 40 บาท (ปากกา 5 บาท , แฟ้ม 20 บาท เอกสารอบรม ชุดละ 15 บาท)x 90 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 4 4.อบรมเชิงปฏิบัติการในเด็กนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 6

ชื่อกิจกรรม
4.อบรมเชิงปฏิบัติการในเด็กนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

--ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คน x 70 บาท X 1 มื้อ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน x 25 x 2 มื้อ -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 500 บาท จำนวน 6 ชม. -ค่าวัสดุในการอบรม คนละ 40 บาท (ปากกา 5 บาท , แฟ้ม 20 บาท เอกสารอบรม ชุดละ 15 บาท)x 160 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง
2.กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


>