กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำมัสยิดบูเกะตาโมง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำมัสยิดบูเกะตาโมง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำมัสยิดบูเกะตาโมง, องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการน้อย

 

55.00
2 เด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการน้อย

 

55.00

การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าตามนานาอารยประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม จะต้องอาศัยทรัพยากรสำคัญหลายๆ อย่างประกอบกัน ทรัพยากรหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการพัฒนาก็คือ ทรัพยากรมนุษย์ และสิ่งที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามพึงประสงค์ได้นั้นก็คือ “การศึกษา” ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเตรียมความพร้อม และการส่งเสริมมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ สามารถเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า เด็กเล็กหรือเด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งในการพัฒนา เพราะสังคมไทย กำลังเผชิญปัญหาหลายด้าน มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อสร้างเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นพลเมืองเด็กและเยาวชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะ สังคมในยุคสื่อหลอมรวม แม้จะมีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น แต่สื่อที่เหมาะสมกับเด็กกลับเข้าถึงเด็กและเยาวชนในปัจจุบันได้น้อยมาก โดยมีปริมาณการเข้าถึงสื่อรวมกันไม่ถึงร้อยละ 10 โดยเด็กใช้เวลาไปกับการใช้สื่อสูงถึง 8 – 9 ชั่วโมงใน 1 วัน เกิดพฤติกรรมอันนำไปสู่ทุกขภาวะ เช่น พฤติกรรมเด็กติดเกม การเสพติดสื่อออนไลน์ การติดหน้าจอ การบริโภคขนมขบเคี้ยว และพฤติกรรมแน่นิ่ง ขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เกิดโรคอ้วน โรคสมาธิสั้น โรคทางสายตา อารมณ์แปรปรวนและรุนแรง และความเสื่อมถอยทางทักษะการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ รวมถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่พึงจะมี
ในด้านสุขภาวะทางกายของเด็ก ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทย เป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังปี 2557 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) ระบุว่า ประเทศไทยมีสถานการณ์ปัญหาในด้านภาวะโภชนาการรุนแรง โดยจัดให้อยู่ในกลุ่ม B : Child Micronutrient Deficiency หรือกลุ่มที่เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น เด็กไทยมีระดับเชาวน์ปัญญาลดลงเรื่อยๆ การสำรวจในรอบ 12 ปี (พ.ศ. 2540-2552) พบค่าเฉลี่ยที่ 88-91 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 เช่นเดียวกับพัฒนาการสมวัยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ลดลงจากร้อยละ72 ในปี 2557 เหลือร้อยละ 67 ในปี 2560 ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาวะการขาดสารอาหารและโภชนาการที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาต่ำ
จากผลการสำรวจอัตราการมีกิจกรรมทางกาย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและ สสส. ในปี 2555 พบว่า วัยเด็กเป็นวัยที่มีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอน้อยที่สุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากการพฤติกรรมแน่นิ่ง (Sedentary Behavior) โดยใช้เวลาส่วนใหญ่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้คาดการณ์ว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีเด็กไทยถึง 1 ใน 5 ที่อยู่ในภาวะอ้วน อันจะส่งผลให้งบประมาณสาธารณสุขของประเทศต้องจ่ายให้กับโรคกลุ่มนี้กว่าร้อยละ 2-8 หรือประมาณสองแสนล้านบาทต่อปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะได้รับการพัฒนาในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สมอง การเรียนรู้ บุคลิกภาพ รวมทั้งการปลูกฝังการเป็นพลเมืองเด็ก ให้เกิดทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการสื่อสร้างสรรค์ นำไปสู่การเติบโตอย่างมีสุขภาวะดีครบทุกด้านและเป็นพลเมืองดีของสังคม โดยเน้นพัฒนาการและการสร้าง ดังนั้น การออกแบบกระบวนการเรียนรู้และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาวะที่ดีในทุกมิติของเด็กเล็ก
ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดบูเกะตาโมง จึงได้มีแนวคิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กให้หันมาสนใจและให้มีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิด จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความสำคัญของอาหารและโภชนาการ

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดจากโรคที่เกิดจากอาหารและโภชนาการ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/12/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์การป้องกันโรคมือเท้าปาก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การป้องกันโรคมือเท้าปาก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกาศ และบอกต่อๆกัน ให้ความรู้ตอนเย็นก่อนกลับ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3 ม =1,125 บาท

    • ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมงๆละ x 600 บาท= 3,600 บาท

    • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท .x 59 คน= 3,540 บาท

    • ค่าอาหารว่าง 50 บาท .x 59 คน = 2,950 บาท

    • ค่าวัสดุ 100.บาท x 56 คน= 5,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16815.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,815.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ขั้นเตรียม
-วางแผนประชุมเสนอโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คณะทำงานผู้รับผิดชอบ
-ติดต่อสอบถามงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต
2. ขั้นดำเนินการ
-ปฏิบัติกิจกรรมอาหารและโภชนาการ
-อบรมให้ความรู้
3.ขั้นตรวจสอบ
-ประเมินผลกิจกรรม
-สรุปและรายงานผล
4.ขั้นแก้ไขปรับปรุง
-ประชุม วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรม
-แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนากิจกรรมต่อไป

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้เด็กปฐมวัย และผู้ปกครอง ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ
2.เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความสำคัญของอาหารและโภชนาการ
3. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพแข็งแรง และปลอดจากโรคที่เกิดจากอาหารและโภชนาการ


>