กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลาที่มีเครือข่ายชุมชนเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร

 

0.00

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานสําหรับการดํารงชีวิตที่มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารอันตรายหรือ สารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้แต่มีปริมาณมากกว่าที่กําหนดล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค โดยผลการตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนในอาหารของจังหวัดยะลาโดยโมบายยูนิตประจำปี 2559-2562 พบอาหาร
ตกมาตรฐานด้านเคมี ในหัวข้อยาฆ่าแมลง GT kit ในผักสด คิดเป็นร้อยละ 12.99, 2.97, 7.55 และ 1.75 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้บริโภคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ผลการตรวจประจำปี 2562 จะไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารจากโรงอาหารโรงเรียนและศูนย์ราชการในเขตเทศบาลนครยะลา แต่การเฝ้าระวังก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเขตเทศบาลนครยะลาเองยังไม่มีเครือข่ายชุมชนที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารนี้โดยเฉพาะ
งานคุ้มครองผู้บริโภค โดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว จึงได้จัดทําโครงการเครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภคเขตเทศบาลนครยะลาขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพอาหารปลอดภัยผ่านกระบวนการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพประชาชนให้ตระหนักถึงความสําคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายร่วมใจใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลาให้มีศักภาพเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในเขตเทศบาลนครยะลา

ร้อยละของชุมชนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายร่วมใจใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลาและมีศักยภาพในการติดตามเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สสจ.

0.00 10.00
2 เพื่อพัฒนาเครือข่ายร่วมใจใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลาให้มีศักภาพเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในเขตเทศบาลนครยะลา

ร้อยละของตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลาที่ผ่านการอบรม มีความรู้เรื่องมาตรฐานอาหารปลอดภัย และการใช้ชุดทอสอบอาหาร (Food test kit) เพิ่มขึ้น

100.00
3 เพื่อหาแนวทางการพัฒนาโครงการฯให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อโครงการเครือข่ายร่วมใจใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภคเขตเทศบาลนครยะลา

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มแกนนำตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา เรื่อง มาตรฐานอาหารปลอดภัย และการฝึกใช้ชุดทดสอบอาหาร (Food Test kit)

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา เรื่อง มาตรฐานอาหารปลอดภัย และการฝึกใช้ชุดทดสอบอาหาร (Food Test kit)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมตัวแทนชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อจัดตั้งเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพผ่านการจัดอบรมเรื่อง มาตรฐานอาหารปลอดภัย และฝึกใช้ชุดทดสอบอาหาร (Food Test kit)
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 30 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 70 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
3.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน ๕ ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดเครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา ที่เป็นตัวแทนจากชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

กิจกรรมที่ 2 สสจ.ตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยภายในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
สสจ.ตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยภายในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่สสจ.ดำเนินการตรวจเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยภายในชุมชนร่วมกับเครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าซื้อชุดทดสอบยาฆ่าแมลง (4 กลุ่ม) จำนวน 5 กล่อง กล่องละ 1,350 บาท เป็นเงิน 6,750 บาท
2.ค่าซื้อชุดอุปกรณ์ตรวจยาฆ่าแมลง 1 ชุด ชุดละ 6,220 บาท เป็นเงิน 6,220 บาท
3.ค่าซื้อชุดทดสอบฟอร์มาลิน จำนวน 10 ลัง ลังละ 540 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
4.ค่าซื้อชุดทดสอบบอแรกซ์ จำนวน 10 กล่อง กล่องละ 90 บาท เป็นเงิน 900 บาท
5.ค่าซื้อชุดทดสอบสารฟอกขาว จำนวน 10 กล่อง กล่องละ 85 บาท เป็นเงิน 850 บาท
6.ค่าซื้อชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 10 กล่อง กล่องละ 1,200 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
7.ค่าซื้อชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 10 กล่อง กล่องละ 1,200 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา มีศักยภาพในการช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน

2.สร้างความตะหนักในการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัยแก่คนในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44120.00

กิจกรรมที่ 3 ความรู้คู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ความรู้คู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิคในการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัยระหว่างคนในชุมชน แกนนำเครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และบูรณาการร่วมกับฝ่ายโภชนาการนำเสนอเมนูอาหารสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรค
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คนในชุมชนทราบถึงหลักการที่ถูกต้องในการเลือกซื้อวัตถุดิบและเลือกบริโภคอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สสจ.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่าย เรื่องผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคที่พบในการทำงาน และร่วมกันหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน
ค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ข้อมูลปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข และผลสำเร็จจากการทำโครงการ

2.แผนการดำเนินงานในอนาคต เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เกิดเครือข่ายร่วมใจ ใส่ใจคุ้มครองผู้บริโภค เขตเทศบาลนครยะลา ที่มีศักยภาพในการช่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในชุมชน
- คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมและได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย


>