กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

12.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชนวัดมัสยิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ“โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาดและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม มีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

อสม.มีความรู้เรื่องป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100

70.00 70.00
2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100

70.00 70.00
3 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 50

70.00 70.00
4 ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้80

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน X 60 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท 3.ค่าวิทยากร 600 บาท X 6 ชม.เป็นเงิน 3,600 บาท รวมเงิน 11,300 บาท วัสดุสำนักงาน 1.ปากกา จำนวน 70 ด้าม X 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท 2.สมุด จำนวน 70 เล่ม X 15 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท ค่าวัสดุโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 1.ค่าไวนิลขนาด 1 X 2 ตารางเมตร เป็นเงิน 500 บาท รวมทั้งหมด 13,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.แกรนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3.การเกิดโรคไข้เลือกออกในพื้นที่ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,200.00 บาท

หมายเหตุ :
1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
2.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินโครงการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และขอความเห็นชอบจาก อสม.
3.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
4.เตรียมวัสดุอุปกรณ์
5.อบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
6.สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100
2. แกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 100


>