กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพิชิตอ้วนผอมในโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดพุทธภูมิ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนเทศบาล3 (วัดพุทธภูมิ) เทศบาลนครยะลา

1. นางนุชนภางค์ลิ้มสุชาติ
2. นางราตรีแซ่ว่อง
3. นางศิริณาสุขาเขิน
4. นางฉัตรภัทรคงสุวรรณ
5. นางศิริพร พุ่มแก้ว

โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดพุทธภูมิ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาพร่องทางโภชนาการในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาที่หลายคนมองข้าม ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคล ผลการวิจัยพบว่าเด็กที่มีภาวะผอม เตี้ย เกิดจาการขาดสารอาหารเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่ำและเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเหมาะสม ถูกต้อง ภาวะพร่องทางโภชนาการผอม เตี้ย จึงเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อพัฒนาการตั้งแต่เริ่มแรกของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเรียนรู้ ภาวะโภชนาการจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในวัยเด็ก ซึ่งข้อมูลในระดับประเทศพบว่า เด็กไทยมีภาวะพร่องทางโภชนาการผอม เตี้ย เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่ไม่เหมาะสมตามวัย ตลอดจนค่านิยมในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสภาพสังคม พฤติกรรม ตลอดจนความใส่ใจและความตระหนักของผู้ปกครองในการให้เด็กรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ
การดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการถือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๑ บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้ได้อย่างมีความสุข ประกอบกับข้อมูลผลการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กประถมศึกษา ชั้น 1-6 ของโรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีเด็กนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 510 คน พบว่า มีเด็กอ้วน จำนวน 22 คน (คิดเป็นร้อยละ 4.3)เด็กผอม จำนวน 41 คน (คิดเป็นร้อยละ 8) เด็กเตี้ย จำนวน 19 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.7) เด็กสูงดีและรูปร่างสมส่วน จำนวน 313 คน (คิดเป็นร้อยละ 61.4) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนยังพบกับปัญหาภาวะโภชนาการเด็ก ทั้งเด็กอ้วน ผอม และเตี้ย ซึ่งภาวะทุพโภชนาการของเด็กกลุ่มนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายได้
จากข้อมูลและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดพุทธภูมิ) เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กอ้วน ผอม และเตี้ยดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพิชิตอ้วนผอมในโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดพุทธภูมิ) ขึ้น เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก เพื่อทำให้เด็กมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ เเละความสามารถของครู เเม่ครัว นักเรียน เเละผู้ปกครองในการดูเเลเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการผอมเเละเตี้ย
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนเเละผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ (ผอม เตี้ย) เข้าร่วมการอบรม
  2. ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น
0.00 0.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณภาพสามารถเเก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนให้มีรูปร่างดีสมส่วน

ร้อยละ 80 นักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถบริโภคตามหลักโภชนาการได้อย่างถูกต้องเเละมีคุณภาพ จนส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการเด็กลดลง

0.00 0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนเเละครอบครัวในการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการของนักเรียน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย : คณะทำงานประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูโภชนาการ ครูอนามัย ครูประจำชั้นเรียน แม่ครัว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเก็บข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กก่อน-หลังดำเนินโครงการ สร้างความเข้าใจการใช้โปรแกรม Thai School Lunch และสร้างความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการเบื้องต้น จำนวน 10 คนมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 25.- บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 250.- บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม ขนาด A4 ขาว-ดำ จำนวน 10 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน200.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีเมนูอาหารที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ตามโปรแกรม Thai School Lunch และระบบการจัดการอาหารอย่างเป็นระบบ/เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
2.ได้ข้อมูลเชิงลึกของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจากครูประจำชั้น
3.มีการมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมทางกายให้เด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทางกายให้เด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย : นักเรียนในโรงเรียนทั้งหมด จัดกิจกรรมการออกกำลังกายวันละ 30 นาที - 1 ชั่วโมง ต่อเนื่องทุกวัน (ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแผนการออกกำลังกายตลอดทั้งสัปดาห์/เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและผลกระทบจากภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและผลกระทบจากภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและผลกระทบจากภาวะโภชนาการ จำนวนทั้งสิ้น 204 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม เป้าหมาย
กลุ่มที่ 1 เด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 82 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 82 คน ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน รวมจำนวน 122 คน
1. ค่าอาหารว่าง เเละเครื่องดื่ม จำนวน 204 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 6,120.- บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
2.1 ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน1,500.- บาท 2.2 ค่าเครื่องวัดส่วนสูงเป็นเงิน 1,500.- บาท 2.3 วัสดุเครื่องเขียน (สำหรับฝึกอบรมกลุ่มที่ 2) - กระดาษ A4 1 รีมๆ ละ 135 บาทเป็นเงิน 135.- บาท - ปากกา 122 ด้ามๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน610.- บาท - แฟ้มกระดุม 122 อันๆ ละ 12 บาทเป็นเงิน 1,464.- บาท รวมเป็นเงิน5,209.- บาท 3. ค่าถ่ายเอกสารคู่มือการอบรม (สำหรับฝึกอบรมกลุ่มที่ 2) 122 ชุด ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,830.- บาท
4. ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนมีความรู้เกี่ยวโภชนาการ
  2. ภาวะผอมในเด็กนักเรียนมีจำนวนลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16759.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลผู้ปกครอง พร้อมเชิดชูครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กผอมได้สำเร็จ
เป้าหมาย : ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 82 คน ครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน รวมจำนวน 122 คน 1. ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 122 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,050.- บาท
2. ค่าวัสดุเครื่องเขียนเเละอุปกรณ์ - กระดาษ A4 1 รีมๆ ละ 135 บาท เป็นเงิน135.- บาท 3. ค่าถ่ายเอกสาร
- ค่าถ่ายเอกสาร เอกสารประกอบการประชุม จำนวน 122 ชุด ๆ ละ 5 บาทเป็นเงิน 610.-บาท - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 3 เล่มๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600.-บาท รวมเป็นเงิน1,210.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ข้อมูลปัญหา/อุปสรรคในการแก้ไขปัญหาโภชนาการเด็ก
2.ได้ครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กผอมได้สำเร็จ
3.ได้ข้อตกลงและวิธีการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กระหว่างครูและผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4395.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,604.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนมีคณะทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจเเละสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เเละตระหนักเรื่องภาวะโภชนาการ โดยหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จนส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการเด็กลดลง
3. โรงเรียนมีข้อมูลปัญหา อุปสรรคเชิงลึกของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจากครูประจำชั้น เเละผลสำเร็จจากการทำโครงการ นำมาแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนแบบมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. โรงเรียนมีครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กผอมได้สำเร็จ
5. โรงเรียนมีเมนูอาหารที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ตามโปรแกรม Thai School Lunch และระบบการจัดการอาหารอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ


>