กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการจุดผ่อนผันแผงลอยสนามช้างปลอดผงชูรส ปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมือง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจุดผ่อนผัน เทศบาลนครยะลา
กลุ่มคน
1. น.ส.อุษนัย อูเมอร์ โทร 0810922541
2. น.ส.อารีนา การีนา
3. นางมารีเยาะ มะแซ
4. นางรอฮะย๊ะ กาเซ๊ะ
5. นางซาตีมา คอปอ
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาหลายด้าน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาด้านการสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากประชาชนมีวิถีชีวิตที่รีบเร่ง ไม่มีเวลาปรุงประกอบอาหารเองหรือไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพอาหารแต่ละมื้อว่าเจือปนด้วยสารอันตรายชนิดใดบ้าง โดยส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานอาหารที่อร่อย สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง และอิ่มท้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง ซึ่งต้องรับประทานคู่กับน้ำจิ้ม เช่น ไก่ทอด ไก่ย่าง อาหารทะเลเผา เฟรนซ์ฟรายด์ เป็นต้น อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว อาหารทานเล่น เช่น ยำ ส้มตำ เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้ ผู้ขายนิยมใส่ผงชูรสในปริมาณสูง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับโรคภัยร้ายแรงที่จะเกิดตามมาจากการรับประทานอาหารโดยไม่รู้ถึงอันตรายที่มากับอาหาร ดังจะเห็นได้จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งเตือน เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณผงชูรสมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้ผงชูรส ทำให้รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ส่วนผู้ที่แพ้มาก ๆ จะเกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หู วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว จนอาจเป็นอัมพาตตามแขนขาชนิดชั่วคราวได้ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้ จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินผงชูรส เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน หากกินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมอง และหากได้รับเกลือโซเดียมมากเกินไปทำให้ไตเกิดการทำงานมากขึ้น จากวิถีการบริโภคอาหารดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ดังเช่นในเขตเทศบาลนครยะลา มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมากขึ้น ความเจริญของเมืองทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในด้านการบริโภค จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้าเป็นหลัก ประกอบกับข้อมูลทะเบียนร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2562 พบว่า มีร้านจำหน่ายอาหารทั้งสิ้น จำนวน 778 ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 366 แผง ใน 11 จุดผ่อน ซึ่งสะท้อนได้ว่าชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลาส่วนใหญ่บริโภคอาหารจากร้านค้าเป็นหลัก และหนึ่งในจุดผ่อนผันที่มีแผงลอยจำหน่ายอาหารมากที่สุด คือ จุดผ่อนผันสวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา เป็นจุดที่ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่นนิยมไปรับประทาน เนื่องจากอยู่ในสวนสาธารณะและขายอาหารที่หลากหลาย มีจำนวนแผงขายอาหารมากถึง 46 แผง อาหารที่จำหน่ายประกอบด้วยแผงของทอด 10 แผง แผงปิ้งย่าง 8 แผง แผงอาหารตามสั่ง/อาหารจานเดียว เช่น ยำ ส้มตำ สุกี้ ฯลฯ 11 แผง แผงเครื่องดื่ม 10 แผง แผงผลไม้ 4 แผง และแผงขนม/ของหวาน 3 แผง โดยกลุ่มอาหารประเภทของทอด ปิ้งย่าง อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว ซึ่งมักจะมีการเติมผงชูรสนั้น รวมจำนวน 29 แผง จากการสำรวจพบว่า มีการใช้ผงชูรสเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร คิดเป็นร้อยละ 100 อีกทั้งในบริเวณจำหน่ายอาหารดังกล่าวมีการใช้ภาชนะใส่อาหารพลาสติกไว้บริการลูกค้าจำนวนมาก ส่งผลต่อการเกิดปริมาณขยะจำนวนมากในแต่ละวัน จากสถานการณ์ดังกล่าวกลุ่มผู้ประกอบการค้าจุดผ่อนผันแผงลอยจำหน่ายอาหารในสวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคและปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการจุดผ่อนผันแผงลอยสนามช้างปลอดผงชูรสปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมือง เพื่อนำร่องการเป็นต้นแบบในการส่งเสริมให้มีการลด ละ เลิกใช้ผงชูรสในการประกอบอาหารและลดปริมาณขยะ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมของคนเมืองยะลาต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพปลอดผงชูรสและการจัดการขยะแก่ผู้ประกอบการ
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 ผู้ค้าในจุดผ่อนผันเข้าร่วมอบรมตามโครงการ 2. ร้อยละ 80 แผงค้าที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพปลอดผงชูรส และการจัดการขยะ
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อสร้างจุดผ่อนผันแผงจำหน่ายอาหารต้นแบบปลอดผงชูรสและปลอดขยะ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นแผงค้าต้นแบบปลอดผงชูรสและปลอดขยะ
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมให้ร้านค้ามีมาตรการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริโภคในการลดขยะ โดยการนำภาชนะมาใส่อาหาร
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมจัดตั้งคณะทำงานเเละรับสมัครร้านค้าต้นแบบปลอดผงชูรส และสนับสนุนการคัดแยกและลดขยะ
    รายละเอียด

    โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 46 คนๆ ละ 25.-บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 1,150.- บาท 2. ค่าถ่ายเอกสาร เอกสารประกอบการประชุมและแผ่นพับ/ใบสมัครแผงค้าต้นแบบ ขนาด A4 ขาว-ดำ จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 230.- บาท

    งบประมาณ 1,380.00 บาท
  • 2. ฝึกอบรมความรู้เรื่องผงชูรสเทคนิคการปรุงอาหารปลอดผงชูรส เมนูชูสุขภาพ และการจัดการขยะ
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 46 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 2,760.- บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 46 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 3,680.- บาท
    3. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์ใช้ในการอบรม 3.1 ค่าวัสดุเครื่องเขียน
      • กระดาษ A4 2 รีมๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300.- บาท
      • ปากกา 46 ด้ามๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน230.- บาท
      • แฟ้มกระดุม 46 อันๆ ละ 12 บาท เป็นเงิน552.- บาท
        3.2 ค่าชุดสาธิตจุดจัดการขยะเป็นเงิน5,000.- บาท รวมเป็นเงิน 6,082 บาท
    4. ค่าถ่ายเอกสาร คู่มือฝึกอบรม 46 ชุด ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,150.- บาท
    5. ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน3,600.- บาท
    งบประมาณ 17,272.00 บาท
  • 3. กิจกรรมตรวจประเมินร้านค้าปลอดผงชูรสและปลอดขยะ
    รายละเอียด

    ตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน ณ แผงค้า จำนวน 5 คน จากหน่วยงานราชการในพื้นที่
    (ไม่ใช้งบประมาณ)

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. เวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูล เเละประเมินผลสำเร็จ เพื่อเชิดชูร้านค้าต้นแบบ พร้อมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลปัญหา/อุปสรรค และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
    รายละเอียด

    โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม จำนวน 46 คนๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,150.- บาท
    2. ค่าวัสดุเครื่องเขียนเเละอุปกรณ์ - กระดาษ A4 2 รีมๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน 300.- บาท 3. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งพิมพ์ - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการพร้อมติดตั้ง เป็นเงิน2,500.-บาท - ค่าป้ายรับรองร้านค้าปลอดผงชูรส จำนวน 29 ป้ายๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน4,350.-บาท - ค่าถ่ายเอกสารเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 46 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 230.-บาท - รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 3 เล่มๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน 600.-บาท รวมเป็นเงิน7,680.- บาท

    งบประมาณ 9,130.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

จุดผ่อนผันสนามช้างเผือก เทศบาลนครยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 27,782.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้ประกอบการมีความรู้เเละตระหนักถึงความสำคัญในการจำหน่ายอาหารอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  2. ผู้ประกอบการสามารถกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  3. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ทำให้ลดภาวะเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารได้
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 27,782.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................