กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอสะเตีย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ไอสะเตีย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

30.00

จากการส่งเสริมสุขภาพและฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด พบข้อมูลการให้บริการงานอนามัยแม่ละเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย อัตราการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ปีงบประมาณ 2561-2562 คิดเป็นร้อยละ 66.6,62.3,59.2 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 55.6,59.6,52.6 ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านแม่และลูกตามมาจากการวิเคระห์ข้อมูลพบสาเหตุของปัญหาที่วส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานหลายอย่าง เช่นการได้รับข้อมูลไม่ทั่วถึง การเข้าถึงบริการที่ไม่สะดวกต้องทำงานประกอบอาชีพประเทศมาเลย์เซีย โดยปัจจจัยในความสำเร็จส่วนหนึ่งคือ การให้ประชาชนและชุมชนมี่ส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง
ด้วยเหตุนี้ทาง รพ,สต,บ้านไอสะเตีย ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ฝากครรภ์เร็ว

เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ70

50.00 70.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์

เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ที่ถุกต้อง ร้อยละ 100

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พร้อมสามีหรือญาติ จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พร้อมสามีหรือญาติ จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท

  2. ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน เป็นเงิน 3,000บาท

  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท

    รวมทั้งหมด 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแล ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :
1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
2.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินโครงการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3.สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เขตรับผิดชอบ
4.ส่งเสริม สร้างกระแส เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ในเรื่องการฝากครรภ์ฟรี ทุกที ทุกสิทธ์
5.จัดกิจกรรมให้ความรู้ แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่พร้อมสามีหรือญาติ จำนวน 50 คน
6.ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์พร้อมสามีและญาติมีความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ รวมถึงระยะเวลาหลังคลอด

2.หญิงตั้งครรภ์สามมารถประเมินตนเองในการป้องกันภาวะเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน


>