กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ(ส่งเสริมให้ความรู้ในสถานศึกษา)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ

สำนักปลัดอบต.ตะโละหะลอ

ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันสถานศึกษาในตำบลตะโละหะลอยังคงประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการแพร่กระจายของมลพิษที่มาจากขยะมูลฝอย และน้ำเสีย ที่เกิดจากการประกอบปรุงอาหารและการล้างภาชนะอุปกรณ์ จากโรงอาหารและหอพักนักเรียนในสถานศึกษา ทำให้เกิดสภาพสิ่งแวดล้อมสกปรกและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ร่องระบายน้ำทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ทำให้เกิดการปนเปื้อนของมลพิษในดิน แหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน ทำให้สถานศึกษาขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีการแยกกำจัดขยะอินทรีย์และขยะอันตราย และการเก็บขนขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ ไม่สามารถเก็บขนขยะได้ทุกวัน ทำให้เกิดขยะตกค้างสะสม ทำให้เกิดส่งกลิ่นเหม็น การแพร่กระจายของเชื้อโรค สิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายกลับมายังสถานศึกษาและชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา และชุมชนบริเวณใกล้เคียง จะเห็นได้ว่า ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอยและน้ำเสียในสถานศึกษา มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไข วิธีการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้คือ การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาและชุมชน ด้วยการเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา และประชาชนในระดับครัวเรือนให้มีศักยภาพในการแก้ปัญหา โดยสามารถเริ่มจากเยาวชนและผู้ปกครองของเยาวชนในแต่ละครัวเรือน และในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอยที่ตนผลิตขึ้น ให้รู้จักวิธีการลดปริมาณการผลิตขยะมูลฝอยด้วยการนำกลับไปใช้ใหม่ การคัดแยกขยะมูลฝอยเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำวัสดุที่มีมูลค่าไปขายได้ การนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นต้น ส่วนการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียดำเนินการโดยจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสีย มีการวางร่องระบายน้ำ โดยที่เศษอาหารจะไหลไปอยู่ในบ่อพัก เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำมาผสมกับดินปลูกต้นไม้ หรือรดน้ำต้นไม้ และผัก ที่ปลูกไว้รับประทานในโครงการอาหารกลางวันได้อีกด้วย
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ ได้แสวงหาความร่วมมือกับสถานศึกษาในตำบลจำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ ซึ่งมีโรงเรียนประชารัฐตั้งอยู่ซึ่งมีหอพักสำหรับนักเรียน และโรงเรียนมะฮัดดะวะห์อิสลามียะห์ ซึ่งมีปอเนาะสำหรับนักเรียน โรงเรียนทั้ง 2 โรงนี้ มีปัญหาด้านขยะตกค้างสะสม องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละหะลอ จึงตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะและน้ำเสียโดยนำหลัก 3Rs คือ REDUCE (การลดการใช้)REUSE (การใช้ซ้ำ)และ RECYCLE (การนำมาแปรรูปใหม่) มาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะและน้ำเสียได้ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ (ส่งเสริมให้ความรู้ในสถานศึกษา) เพื่อเป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนโดยการคัดแยกขยะ และส่งเสริมการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียในสถานศึกษา และให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆให้ถูกวิธี และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ทำให้โรงเรียนมีระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ(ส่งเสริมให้ความรู้ในสถานศึกษา)

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะ(ส่งเสริมให้ความรู้ในสถานศึกษา)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. อาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 560 คน คนละ 3๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ)  เป็นเงิน  39,20๐  บาท     ๒. ค่าอาหารกลางวัน         (จำนวน 560 คน คนละ ๕๐  บาท)                  เป็นเงิน  28,0๐๐  บาท     ๓. ค่าวิทยากร  (จำนวน ๑ คน จำนวน 2 วัน ๆ ละ 6 ชม. ๆ ละ 600 บาท)     เป็นเงิน   3,6๐๐  บาท     ๔. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย  ป้ายละ 720 บาท                                   เป็นเงิน     720   บาท                                                                                    รวมเงินทั้งสิ้น          75,120  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ยั่งยืน           ๒.นักเรียนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการนำสิ่งเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่และเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม           ๓.เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนส่งผลที่ดีกับชุมชนบริเวณใกล้เคียง           4.ปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงลดลง     5.สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาน้ำเสียในสถานศึกษา           6.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ยั่งยืน
๒.นักเรียนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการนำสิ่งเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่และเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓.เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนส่งผลที่ดีกับชุมชนบริเวณใกล้เคียง
4.ปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียงลดลง
5.สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาน้ำเสียในสถานศึกษา
6.ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมต่อการจัดการขยะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ


>