กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เหา หรือ Louse เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (Parasite) ต้องอาศัยบนร่างกายคน หรือสัตว์ และดำรงชีวิตโดยการดูดเลือดเป็นอาหารสามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่งได้โดยการอยู่ใกล้ชิดกัน อาการหลัก คือ อาการคัน ส่วนปัญหาสำคัญของผู้เป็นเหาคือ อาจกลายเป็นที่รังเกียจของสังคม การติดเหา สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเชื้อชาติ โดยทั่วโลกพบผู้ที่เป็นเหามากกว่าร้อยล้านคนต่อปี และพบอัตราการเป็นเหาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศด้อยพัฒนาไม่แตกต่างกันนัก โดย เหาที่ศีรษะ (Pediculushumanuscapitisหรือ Pediculosiscapitis) พบได้ในคนทุกระดับตั้งแต่ฐานะยากจน กระทั่งฐานะร่ำรวย และมักพบในวัยเด็ก
การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากอาการหลักคืออาการคันที่ศีรษะ ซึ่งเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด และจะคันมากในช่วงกลางคืน เพราะเหามักดูดเลือดในช่วงนี้ ทำให้เด็กมีปัญหานอนหลับไม่สนิท และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ได้นอกจากนี้การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ และตัวเหายังเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใหญ่ชนิด Epidemic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นต้นการรักษาเหาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาเบนซิลเบนโซเอต ๒๕% การใช้ยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่นและการใช้สมุนไพรรักษา เช่น เมล็ดหรือใบน้อยหน่า ซึ่งการใช้ยาสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
จากการตรวจสุขภาพของนักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีเด็กนักเรียนเป็นเหาร้อยละ ๔๖.๐๒ ซึ่งการเป็นเหาในเด็กวัยเรียนมีโอกาสหายค่อนข้างยาก และมีโอกาสติดโรคซ้ำ เนื่องจากภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากจึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน ทำให้เหาเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร็วได้ตลอดปี จึงได้จัดทำโครงการเด็กวัยเรียนตำบลมูโนะ เหาตายสบายศีรษะ โดยใช้น้ำยาสกัดจากใบน้อยหน่าขึ้น เพื่อลดโรคเหาในเด็กนักเรียน และเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในการป้องกัน และรักษาโรคเหาเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ในการป้องกัน และรู้วิธีการกำจัดเหาเพิ่มขึ้น

 

0.00
3 เพื่อดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 412
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการต่อชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. โรงเรียน 1.2 ประชาสัมพันธ์โดยการประชุม ถ่ายทอดโครงการสู่ชุมชนที่ประชุมชาวบ้าน ที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล 1.3 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับรายละเอียดและแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.4 การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองนักเรียนที่เป็นเหา 1) สำรวจจำนวน และรายชื่อเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากรายงานการตรวจสุขภาพนักเรียน 2) ตรวจคัดกรองเหาในเด็กที่นักเรียนสำรวจรายชื่ออีกรอบ และสำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาเพิ่มเติม 3) ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน/ประสานผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 2.2 กิจกรรมที่2การให้ความรู้เรื่องเหา กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง 1) ให้ความรู้เรื่องการป้องกัน และรักษาโรคเหา แก่เด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่เป็นเหาโดยให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถาม ก่อนและหลังการให้ความรู้

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน412 คน x 25 บาท เป็นเงิน 10,300.- บาท - ค่าวิทยากร 600 บาท x 1 คน x 3 ชั่วโมง x 4 วัน เป็นเงิน 7,200.- บาท 2) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้น้ำยาสกัดใบน้อยหน่าชโลมให้ทั่วศีรษะโพกผ้าขนหนูทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมงจึงล้างออก - ค่าจัดซื้อวัสดุจัดทำน้ำยาสมุนไพรกำจัดเหา จำนวน412คนx20 บาท x 3 ครั้งเป็นเงิน24,720.- บาท
- ค่าจัดซื้อหวีเสนียดจำนวน412 อัน x 8 บาทเป็นเงิน3,296.-บาท - หมวกคลุมผม412 คน x 20 บาทเป็นเงิน8,240.-บาท - ป้ายไวนิลโครงการฯ 1ผืน ขนาด 1.2 * 2.4 เป็นเงิน720.-บาท 3) เด็กนักเรียนสระผมอีกครั้ง พร้อมใช้หวีเสนียดสางเอาตัวและไข่เหาออก 4) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อกัน 3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 1 สัปดาห์ 5) เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54476.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2) สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,476.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่บกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนนักเรียนเป็นเหาลดลง และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
2. ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้เรื่องการป้องกัน และวิธีกำจัดเหา สามารถนำไปปฏิบัติให้กับบุตรและตนเองได้


>