กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบางส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

1. นายเอนก กลิ่นรส
2. นางสาวณัฎฐณิชา สมจิตร
3. นายธานัท ยอดแก้ว
4. นางกิตติยา พรหมปาน

หมู่ที่ 1,7,9 ต.โคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

4.00

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8-10 โดยคงยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ”คนเป็นศูนย์กลางพัฒนา” และ “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติได้ให้ความสำคัญกับการบริโภคที่ไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนว่า“ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้5อันดับแรกคือโรคหัวใจความดันโลหิตสูงเบาหวานมะเร็งและหลอดเลือดในสมองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสาธารณสุข”เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมบริโภคปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานก็เป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ขาดการออกกำลังกายโดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้วไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมจะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้วซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้เช่นโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตกโรคไตวายและตาบอดโรคเบาหวานก็เช่นเดียวกันเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการโดยเฉพาะในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อหลายสิบปีก่อนและพฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดออกกำลังกายทำให้คนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นในปีพ.ศ.2558มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน338,551รายเสียชีวิต7,725รายคาดว่าทั่วประเทศจะมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานประมาณ3 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆผู้ป่วยร้อยละ50ไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมจึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาแทรกซ้อน
สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบในปี 2562มีความชุก 191.05/พันประชากร และ 46.35/พันประชากร ตามลำดับ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง และกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงาย เล็งเห็นปัญหาสำคัญนี้จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ 35ปีขึ้นไปในพื้นที่ หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

4.00 90.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ 7โรคความเบาหวานไม่เกิน ร้อยละ

อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ 7  โรคเบาหวานไม่เกิน ร้อยละ 3

4.00 73.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองซ้ำแล้วยังเสี่ยงได้รับการส่งตัวรักษาต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน

กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองซ้ำ แล้วยังพบว่าเสี่ยงได้รับการส่งต่อและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 100

4.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,300
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เข็มเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 7 กล่องๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
  • แถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 22 กล่องๆละ 900 บาท เป็นเงิน 23,400 บาท
  • เครื่องวัดความดันโลหิตแบบพกพา จำนวน 4 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่องๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองฯ จำนวน 1,300 ชุดๆละ 1 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 3 ตรม.ๆละ 180 บาท เป็นเงิน 540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48440.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน เวลา 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม150 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  • เอกสารประกอบการประชุม จำนวน 150 ชุดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการตรวจคัดกรองซ้ำ แล้วยังพบความเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งต่อ ทุกคน
  2. อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 7และโรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 3
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 69,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มอายุ35 ปีขึ้นไปได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต
2. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
3. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตได้รับการคัดกรองซ้ำ
4. กลุ่มเลี่ยงที่ผลการตรวจคัดกรองเสี่ยงอีกได้รับการส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลพัทลุง
5. ลดอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ 7 โรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ 3


>