กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย

1.นางพรภิรมย์ ด้วงเล็ก
2. นางสาวสุกัญญา อินทร์เหมือน
3.นางสาวนิสรีน เหล็มปาน

หมู่ที 2, 3, 4, 5, 6 และ 8 ตำบลโคกชะงาย อ.เมือง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานในชุมชน (43.11/พันประชากร)

 

3.00
2 อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน (110.39/พันประชากร)

 

3.00

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสุขภาพของประชากรในประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ.2552 เป็น ร้อยละ 8.9 ในปี พ.ศ.2557 และความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้าน ในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี 2561 และอีกเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วย อีกทั้งแนวโน้มผู้ที่เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอีกด้วย (สำนักโรคไม่ติดต่อ 2561) ซึ่งปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมที่สะสมเป็นเวลาหลายปี เช่น การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงการสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วนลงพุง ภาวะเครียดสะสม การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ ประกอบกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการมีพ่อ แม่ ญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการป่วยโรคดังกล่าวมากกว่าอีกกลุ่ม กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังดังกล่าว เนื่องจากหากมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลทั้งของหน่วยงานราชการและเศรษฐกิจครอบครัวของผู้ป่วยเอง ยิ่งผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า เป็นต้น อัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพจะเพิ่มขึ้นสำหรับจังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 12,275 คน คิดเป็นอัตราป่วย 10,128.63 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 737 คนคิดเป็นอัตราป่วย 608.13 ต่อแสนประชากรผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 28,085 คน คิดเป็นอัตราป่วย 23,174.16 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 1,606 คนคิดเป็นอัตราป่วย 1,325.18 ต่อแสนประชากร(HDC 2562)
ปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีอัตราป่วยโรคเบาหวาน 43.11 ต่อพันประชากรและอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง 110.39 ต่อพันประชากร ซึ่งได้ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่องทุกปี คือการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดที่รับผิดชอบ หรือผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงแม้อายุไม่ครบ 35 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ความครอบคลุมของการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2562 เท่ากับ ร้อยละ 95.4 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 16 คน (ร้อยละ 1.75)กลุ่มเสี่ยง 111 คน (ร้อยละ 10.10)พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 36 คน (ร้อยละ 3.94) กลุ่มเสี่ยง 162 คน (ร้อยละ 17.74) (HDC 2562) การคัดกรองเป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในปีถัดไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงจัดโครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ปี 2563 ขึ้น เป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างองค์ความรู้ และกระตุ้นให้ประชากรรับรู้ความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

4.00 1163.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

4.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,292
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 26 กล่อง ๆละ 900 บาท เป็นเงิน 24,300 บาท
  • เข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 7 กล่อง ๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32700.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง (สมัครใจเข้าร่วมโครงการ)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง (สมัครใจเข้าร่วมโครงการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆละ 2 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ได้รับการพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการพฤติกรรมสุขภาพwได้ัรับการติดตามผล และมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตสูงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หน่วยบริการสามารถจัดบริการสุขภาพให้เหมาะสมกับกลุ่ม (กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย) ตามผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.กลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกคน
3.ลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกินร้อยละ 7 และโรคเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 3


>